Page 428 - kpi15476
P. 428
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 42
“คณะสุภาพบุรุษ” รากแก้วของต้นแบบนักหนังสือพิมพ์อิสรชน
และนักหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย
กลุ่มพลังใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างกระแสไหลเวียนการสื่อสารการเมืองให้เกิดขึ้น
ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ.2468 ถึง พ.ศ.2477 คือ
“คณะสุภาพบุรุษ” รากแก้วของต้นแบบนักหนังสือพิมพ์อิสรชนและนักหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย
ด้วยพลังขับเคลื่อน 2 ลักษณะหลัก ได้แก่ (1) การผนึกพลังสามัญชนรวมเป็น “คณะสุภาพบุรุษ”
และ (2) “คณะสุภาพบุรุษ” สื่อกลางเชื่อมอดีตกับปัจจุบันร่วมสมัย ดังอรรถาธิบายต่อไปนี้
การผนึกพลังสามัญชนรวมเป็น “คณะสุภาพบุรุษ” จากการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึง
ปรากฏการณ์สำคัญทางการหนังสือพิมพ์ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวระหว่าง พ.ศ.2468 ถึง พ.ศ.2477 คือ การเกิดพลังใหม่แห่งการรวมตัวกันของ
นักหนังสือพิมพ์สามัญชน รุ่นหนุ่ม คือ “คณะสุภาพบุรุษ” ในปี พ.ศ.2472 คณะสุภาพบุรุษ
สามารถเป็นพลังขับเคลื่อนการสื่อสารการเมืองที่ทรงพลังต่อเนื่องมายังปัจจุบันร่วมสมัย เพราะ
เป็นการผนึกพลังของสามัญชนรุ่นอายุระหว่าง 20 ถึง 30 ปี และเป็นเพื่อนกันด้วยใจรักในการ
ประพันธ์และศรัทธาในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ มีแนวความคิดหลัก “มนุษยภาพ” เป็นรากแก้ว
ดังคติพจน์ประจำคณะสุภาพบุรุษที่ว่า “ผู้ใดเกิดมาเป็นสุภาพบุรุษ ผู้นั้นเกิดมาสำหรับผู้อื่น”
มีความเสียสละเพื่อจะทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ นายมาลัย ชูพินิจ
นายโชติ แพร่พันธุ์ และนายอบ ไชยวสุ ล้วนเป็นแกนหลักของผู้ก่อตั้งคณะสุภาพบุรุษ
“คณะสุภาพบุรุษกับนักหนังสือพิมพ์อาชีพ” เมื่อรวมตัวกันเป็นคณะสุภาพบุรุษได้เป็นกลุ่ม
เป็นก้อนแล้ว ได้ออกหนังสือพิมพ์ สุภาพบุรุษรายปักษ์ มุ่งเสริมสร้างงานเขียนหนังสือให้เป็นงาน
ที่มีคุณค่า และเป็นการทำงานอย่างมืออาชีพได้ คณะสุภาพบุรุษถือเป็นรากแก้วการเจริญเติบโต
ของเส้นทางนักหนังสือพิมพ์บนดิน หรือนักหนังสือพิมพ์อิสรชนใน 2 ลักษณะหลัก ได้แก่ การรับ
ว่าจ้างทำหนังสือพิมพ์ข่าว บางกอกการเมือง และไทยใหม่ และการออกหนังสือพิมพ์บันเทิง
หัวใหม่ “สุริยา” โดย นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ผู้นำคณะสุภาพบุรุษจะเป็นผู้จัดวางเพื่อนชาว
คณะสุภาพบุรุษตามความรู้ความสามารถในแต่ละงานแต่ละฉบับได้อย่างเหมาะสม หลังจากนั้น
คณะสุภาพบุรุษได้แตกเมล็ดพันธุ์เป็น 2 สาย ได้แก่ สายแรก คือ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์
นายมาลัย ชูพินิจ และนายโชติ แพร่พันธุ์ ได้เข้าทำงานในหนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ ผู้นำ ศรีกรุง
และสยามราษฎร ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และนายกุหลาบ
สายประดิษฐ์ ได้เป็นบรรณาธิการพร้อมนายมาลัย และนายโชติ ได้ทำงานในหนังสือพิมพ์
ประชาชาติ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ส่วนอีกสายหนึ่งคือ นายอบ ไชยวสุ
ได้เป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ สยามราษฎร และได้มาสมทบกับคณะของนายกุหลาบ
สายประดิษฐ์ ร่วมทำหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ ในเวลาต่อมา
“คณะสุภาพบุรุษต้นรากของหนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลงนิยม หรือหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้า”
จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า คณะสุภาพบุรุษได้ร่วมทำหนังสือพิมพ์ข่าว หมายถึง หนังสือพิมพ์รายวัน เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
คือ บางกอกการเมือง โดยนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการในปี พ.ศ.2473