Page 433 - kpi15476
P. 433

432     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ความหมายของศิลปวัฒนธรรม



                       สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมซึ่งมีการสืบทอดและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องยาวนาน

                  นับร้อยนับพันปี ตามแบบอย่างอารยประเทศ พระราชบัญญัติวัฒนธรรมพุทธศักราช 2485
                  อธิบายไว้ว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่หมู่คณะ หมายถึง ลักษณะที่
                  แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และ

                  ศีลธรรมอันดีของประชาชน ในความหมายทางวิชาการ วัฒนธรรม หมายถึง “พฤติกรรมและสิ่งที่
                  คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน” 2


                       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเห็นความสำคัญของ
                  วัฒนธรรมในฐานะหลักแห่งความเจริญของชาติไทย ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะ

                  นาฏศิลป์ไทยที่เดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรมการแสดงต่างประเทศ อันกอปรด้วยสาระที่เปี่ยมด้วย
                  ความหมายแก่สังคมไทย ดังนี้


                          “...คำว่า วัฒนธรรม นี่จะแปลว่าอะไรก็แล้วแต่จะตีความ ความจริง แปลว่า ความ
                     เจริญความก้าวหน้า แต่วัฒนธรรมในที่นี้ก็คงจะบ่งถึงว่า มีความเจริญมาช้านาน ไม่ใช่ว่ามี

                     ความเจริญก้าวหน้า แต่มีความเจริญมาเป็นเวลาช้านาน ต่อเนื่องมาและจนกระทั่งฝังอยู่ใน
                     สายเลือด แต่ถ้าเราไปแสดงตนว่ามีวัฒนธรรม ว่ามีฝีมือเท่านั้นเองก็ไม่พอ ต้องแสดงว่า

                     วัฒนธรรมของเราอยู่ในเลือดวัฒนธรรม...”  3


                  ความหมายของธรรมราชา



                       “ธรรมราชา” มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี คำดังกล่าวเกิดจากการสมาสกันของคำว่า

                  “ธรรม” กับคำว่า “ราชา”


                       “ธรรม” เป็นคำนาม แปลว่า “คุณความดี”  “ราชา” เป็นคำนาม แปลว่า “พระเจ้าแผ่นดิน”
                                                                                                          5
                                                              4
                  เมื่อนำศัพท์สองคำมารวมกันเป็น “ธรรมราชา” ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายไว้ว่า
                  “พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม”      6







                     2   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, จัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี, พ.ศ.
                  2525 : 757.
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   2513 : 127.
                        พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก่คณะนาฏศิลป์จากกรมศิลปากรซึ่งเดินทางไปเผยแพร่

                     3
                  ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ณ ประเทศออสเตรเลีย 27 ก.พ. 2513. ในประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทฯ


                     4
                        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525, หน้า 420
                     5
                        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525, หน้า 700


                        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525, หน้า 421
                     6
   428   429   430   431   432   433   434   435   436   437   438