Page 442 - kpi15476
P. 442
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 441
หลักฐานจากหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ฉบับที่ 82 ปีที่ 1 วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2473
พาดหัวข้อข่าวว่า “ในหลวงทรงแนะราษฎรเล่นวิทยุ” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงรับสั่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2473 เวลา 18.30 น. ขณะเสด็จเยี่ยมสถานีวิทยุ
กระจายเสียงพญาไท ในโอกาสนี้รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำรัสกระจายเสียงมีข้อความ
“กล่าวถึงประโยชน์ของวิทยุแก่ปวงชน” สรุปได้ว่า
“พระองค์มีความยินดีที่ได้มาทอดพระเนตรเห็นสถานีใหม่นี้ ทรงเห็นว่าเครื่องเครา
ต่างๆ เป็นเครื่องสมัยใหม่เรียบร้อยดีมาก และส่งกระแสเสียงได้ดีกว่าเครื่องใช้ที่มีใช้อยู่
แต่ก่อน คงจะมีบางคนลงความเห็นว่า การเสียเงินทุ่มเทใช้จ่ายในการกระจายเสียงนี้
เป็นการเปลืองเงินมาก ความจริงการกระจายเสียงนี้ มีประโยชน์หลายประการ ไม่ใช่แต่
เพียงนำความเพลิดเพลินมาให้ผู้ฟังเท่านั้น ทางราชการมีความประสงค์เพาะความรู้ต่างๆ
ให้แก่ประชาชน”
25
ต่อมา ก็มีพระราชบัญญัติวิทยุโทรเลข พ.ศ. 2457 แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศเมื่อวันที่ 12
กันยายน พ.ศ. 2473 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลที่ 7 มีสาระสำคัญ คือ เปิดโอกาสให้ประชาชน
26
ทั่วไปสามารถมีเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงไว้ในครอบครองได้อย่างเท่าเทียมกันเพื่อสารัตถะ
ประโยชน์แห่งตน
การท้าทายคติธรรมราชาในสมัยรัชกาลที่ 7 :
ลำตัดการเมืองหลักฐานการเสียดสีเจ้าด้วยศิลปะพื้นบ้าน
การทะเลาะวิวาทจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทุกวัน การทะเลาะวิวาทในครัวเรือน หรือความ
ขัดแย้งตบตีของชาวบ้านร้านตลาด แม้จะเป็นเรื่องสัพเพเหระ แต่ “ชาวบ้านและไทยมุง” ต่างก็
ชอบที่จะเล่าลือด้วยความใส่ใจและสนุกสนาน และยิ่งเป็นเรื่องการทะเลาะระหว่างเจ้ากับสามัญชน
ผู้คนก็ยิ่งให้ความสนใจว่า เรื่องจะจบลงอย่างไร หรือศาลจะตัดสินออกมาอย่างไร
ความรู้สึกแปลกแยกระหว่างชนชั้นเจ้ากับสามัญชน สืบเนื่องมาจากการได้รับการศึกษาและ
สังคมเปิดโอกาสให้กับผู้มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ความเป็นผู้มีฐานะทางสังคม ทำให้เห็นว่า
เรื่องชาติตระกูลมิใช่เครื่องบ่งบอกสถานะทางสังคมเพียงอย่างเดียวอีก คดีวิวาทระหว่างหม่อมเจ้า
อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร กับนายจงใจภักดิ์ (นายสง่า ฉัตรภูติ) นอกจากจะเป็นคดีท้าทาย
พระมหากรุณาธิคุณของ “ธรรมราชา” แล้ว ยังถูกนำมาล้อเลียนประชดประชันในสื่อหนังสือพิมพ์
อันเป็นพัฒนาการที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกอัดอัดใจภายในของปัญญาชนที่มีชีวิตอยู่ภายใต้
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกด้วย
25 หนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ฉบับที่ 82 ปีที่ 1 วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2473. ที่มา : ห้องอ่านหนังสือพิมพ์
ชั้นที่ 3 สำนักหอสมุดแห่งชาติ เลขทะเบียน ไมโครฟิล์ม มฟ.37/001 ฝบว. เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
26 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 162 วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2473.