Page 507 - kpi17968
P. 507
496
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเกี่ยวกับความรู้ ไว้ว่า
โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํปณฺฑิโต วาปี เตนโส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ
ซึ่งแปลมาจากธรรมบทจากภาษาบาลีว่า “ผู้ใดเป็นคนโง่ รู้ตัวว่าโง่
ผู้นั้นพอที่จะเป็นบัณฑิตได้ ส่วนผู้ใดที่เป็นคนโง่แล้วเข้าใจว่าตนเป็นบัณฑิต นั่น
แหละโง่โดยแท้”
ซึ่งจากความหมายนี้พอจะสื่อให้รู้ว่าบุคคลทั้งหลายมีทั้งคนที่รู้ตัวเอง
และไม่รู้ตัวเอง กล่าวคือ คนที่รู้ตัวเองย่อมรู้ว่า “ตนเป็นคนโง่หรือไม่” เพราะคนที่
รู้ตัวเองหรือเข้าใจตัวเองย่อมรู้ว่าตนเป็นคนอย่างไรและย่อมรู้ในความเป็นไปของ
สังคมและกรอบกติกาของสังคม หรือเรียกอีกว่าอย่างหนึ่งว่า “คนรู้ธรรม” ดังนั้น
บุคคลที่รู้ตัวเองจึงได้ชื่อว่าเป็นคนมีธรรม จึงสมควรที่จะอยู่ในฐานะผู้ใช้กฎหมาย
หรือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเพราะรู้และเข้าใจในความเป็นไปของทุกสิ่ง และรู้ว่าความเป็น
ธรรมคืออะไร
สำหรับคนที่ไม่รู้ตัวเอง มิหนำซ้ำยังสำคัญตนผิดว่าตนเป็นผู้รู้หรือเป็น
คนที่สำคัญ บุคคลเหล่านี้ย่อมเป็นอันตรายต่อตัวเองและคนรอบด้าน เพราะไม่รู้
ว่าแท้จริงตนเป็นคนอย่างไร คือ “โง่ก็ไม่รู้ว่าโง่หรือฉลาดก็ไม่รู้ว่าฉลาด” คือเมื่อ
เป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย เพราะไม่เข้าใจตัวเองไม่เข้าใจในความเป็นไปของสังคมหรือ
กรอบกติกาของสังคมหรือเรียกอีกชื่อว่า “คนไม่มีธรรม” และเมื่อคนไม่มีธรรม
ก็ไม่สมควรเป็นอยู่ในฐานะผู้ใช้กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ถึงแม้จะรู้เรื่องกฎหมาย
หรือรู้เรื่องการปกครองก็ตาม และนอกเหนือจากไม่สมควรอยู่ในฐานะผู้ใช้
กฎหมายแล้ว แม้แต่หัวหน้างานก็ไม่สมควร เพราะไม่สามารถที่ให้ความเป็นธรรม
กับใครได้ มีแต่จะสร้างความขัดแย้งในหมู่คณะ
ความรู้ในทัศนะของขงจื๊อ ซึ่งเป็นนักปราชญ์จีน กล่าวว่า “เมื่อเรารู้
เราก็รู้ว่าเรารู้ เมื่อเราไม่รู้ เราก็รู้ว่าเราไม่รู้ นั่นแหละคือความรู้” โดยนิยาม
ความรู้นี้เป็นหลักปรัชญา ซึ่งจากความหมายนี้พอที่อธิบายได้ว่า เป็นบุคคลที่
“รู้ตัวเองดี” คือ รู้ว่าตนรู้ และรู้ว่าตนไม่รู้ ซึ่งการรู้ในลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็น
ประโยชน์ต่อตัวเอง และผู้อื่น เพราะการรู้ในสิ่งที่ตนรู้ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์
บทความที่ผานการพิจารณา