Page 506 - kpi17968
P. 506
495
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อความเสมอภาคในระบอบ
ประชาธิปไตย กล่าวคือ ถ้าระบบนิติธรรมมีอยู่จริง ระบอบประชาธิปไตยก็จะมี
อยู่จริงเช่นเดียวกัน แต่ถ้าระบบนิติธรรมหรือนิติรัฐเป็นเพียงแค่ทฤษฎีหรือเป็น
เพียงแค่ข้อกล่าวอ้างเพื่อที่จะให้ระบอบประชาธิปไตยมันดูสวยหรู ก็ต้องขอบอกว่า
“ประชาธิปไตยที่ทุกคนหวังว่าคงจะอยู่ห่างอีกไกล”
ประชาธิปไตย คือ “สิ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้ในฐานะประชาชน” แต่
นิติธรรม คือสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐทุกคนต้องเรียนรู้ในฐานะผู้ทรงธรรม และ
ในฐานะผู้ใช้กฎหมายและผู้ปกครองประเทศ ถามว่าทุกคนในฐานะเป็นประชาชน
หรือพลเมืองที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน ได้เข้าใจคำว่า “ประชาธิปไตย”
ดีแค่ไหน และเจ้าหน้าที่รัฐในฐานะผู้ใช้กฎหมายได้เข้าใจคำว่า “นิติธรรม” ดีแค่
ไหน และถ้าหากเข้าใจดีแล้ว การปฏิบัติตนได้สอดคล้องกับหลักนิติธรรม
มากน้อยแค่ไหน
ดังนั้นคำว่า “ประชาธิปไตย” เราเข้าใจได้โดยการเรียนรู้ “นิติธรรม”
เราก็เข้าใจโดยการเรียนรู้” และส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้เราก็เข้าใจได้โดยการ
เรียนรู้เช่นเดียวกัน เช่น เรารู้และเข้าใจแล้วว่า นิติธรรม คือ การปกครองโดย
กฎหมาย และบุคคลย่อมเสมอภาคกันภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน และถือได้ว่า
หลักนิติธรรมนั้น เป็นหลักสำคัญของนิติรัฐ ตลอดจนเป็นรากแก้วของการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยแท้
7.3 ความรู้คืออะไร
เมื่อประชาธิปไตยก็คือการเรียนรู้ หลักนิติธรรมก็คือการเรียนรู้
ถามว่าความรู้คืออะไร ทุกคนเมื่อฟังแล้วก็รู้ว่าเป็นคำถามแบบพื้นๆ ซึ่งทุกคนก็พอ
ที่จะเข้าใจได้ว่าความรู้ ก็คือ สิ่งที่เราได้เรียนรู้มาหรือรับรู้มา โดยผ่านอายตนะ
ทั้ง 6 ตา หู จมูก ปาก กาย และใจ ซึ่งความรู้ที่เราได้รับรู้มานั้น อาจจะมาจาก
ประสบการณ์โดยตรง หรือจากการซึมซับจากพฤติกรรมของบุคคลทั่วไป ซึ่งมีทั้ง
การกระทำทั้งถูกและผิด หรือจากการเข้าเรียนโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ตาม
หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีคุณครูเป็นผู้ให้วิชาความรู้ต่างๆ ตั้งแต่
ระดับอนุบาลไล่ไปจนถึงประถม มัธยม อุดมศึกษา และจนถึงระดับปริญญา
บทความที่ผานการพิจารณา