Page 532 - kpi17968
P. 532

521




                   นิติธรรมและมีผลไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยได้กำหนดขอบเขตทั้ง

                   รูปแบบทางกฎหมาย (Legal form) และเนื้อหาสาระ (Substantive content)
                   ของหลักนิติธรรมไว้ดังนี้


                             (1) รูปแบบทางกฎหมาย (Legal form) ของหลักนิติธรรม
                   การใช้อำนาจรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรภาครัฐต้องมีกฎหมายให้อำนาจแก่
                   องค์กรนั้นๆ หากการปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ได้กระทำนอกกฎหมายและกฎหมายมิได้

                   กำหนดให้อำนาจไว้ ย่อมถือเป็นการกระทำที่มิชอบ (ultra vires) และไม่อาจ
                   บังคับใช้หรือลงโทษโดยศาล ดังคำวินิจฉัยของศาลอังกฤษในคดี Entick v.

                   Carrington ว่า “ถ้าหากนี่คือสิ่งที่พบอยู่ในหนังสือตำรากฎหมายอังกฤษ แต่
                   กฎหมายนั้นมิได้มีอยู่ในประเทศนี้ (“If this is law it would be found in our
                   books, but no such law ever existed in this country”) (Bradley & Ewing,
                   2011, p. 95-96) ดังนั้น โจเซฟ ราซจึงได้ระบุลักษณะการปกครองตามกฎหมาย

                   ว่า หากเจตจำนงในการปกครองนั้นแสดงออกภายนอกโดยมีข้อจำกัดทาง
                   กฎหมายและเคารพต่อกฎหมาย ย่อมถือได้ว่าเป็นการปกครองโดยหลักนิติธรรม
                   (Raz, 1977, p. 45) ในคำวินิจฉัยคดี R (Bancoult) v. Secretary of State

                   for Foreign and Commonwealth Affairs (No 2) การปฏิบัติหน้าที่ของ
                   รัฐบาลอังกฤษพบว่า มิได้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย เนื่องจากอำนาจที่เพิ่มเติม
                   นั้นได้มอบให้แก่ผู้ใช้อำนาจในนามของรัฐบาลโดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของ

                   รัฐสภา ในอังกฤษการลงโทษแก่ผู้ละเมิดกฎหมายสามารถดำเนินการได้เฉพาะ
                   โดยกระบวนศาลธรรมดา (ordinary court procedure) ซึ่งในประเทศอื่นอาจจะ
                   ถูกพิจารณาโดยศาลพิเศษ (designated courts) (Bradley&Ewing, 2011,

                   p. 96) หน่วยงานของรัฐบาลต้องรับผิดโดยตรงต่อการกระทำที่ก่อให้เกิดความ
                   เสียหายของตนเอง อย่างไรก็ดี ประมุขแห่งรัฐย่อมได้รับความคุ้มกัน (immunity)
                   จากการดำเนินคดีฟ้องร้องในศาล ยกเว้นในกรณีประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา

                   อาจจะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ โดยการพิจารณาพิพากษาคดีในศาล
                   (Bradley&Ewing, 2011, p. 96-97)  ในคดี  M v. Home Office รัฐมนตรี
                   ว่าการกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษต้องรับผิดต่อการหมิ่นอำนาจศาลอังกฤษ

                   (contempt of court) ขณะเดียวกันการกระทำของรัฐสภา (Acts of
                   Parliament) ซึ่งละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน เช่น การกักขังผู้ต้องสงสัย





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   527   528   529   530   531   532   533   534   535   536   537