Page 536 - kpi17968
P. 536

525




                   ประหลาด หรือขัดต่อสามัญสำนึกหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ศาลก็ไม่อาจ

                   ตีความกฎหมายให้ผิดไปจากข้อความที่ชัดแจ้งนั้นได้ ศาลต้องถือเอาความหมาย
                   ตามตัวอักษรเป็นสำคัญ และถือว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายประสงค์จะใช้ถ้อยคำ
                   ดังกล่าวตามความหมายธรรมดา ตรงกันข้ามแม้ข้อความนั้นจะชัดแจ้ง แต่ถ้า

                   ทำให้เกิดผลประหลาดหรือขัดแย้งต่อสามัญสำนึกหรือเกิดความอยุติธรรมขึ้น
                   (สำนักกฎหมายวุฒิสภา, 2553 น. 15-17) ศาลอังกฤษจึงต้องพิจารณาถึง
                   เจตนารมณ์ของกฎหมายตามหลักนิติธรรมเป็นสำคัญ


                           ในคดี Marquis of Linlithgow v. North British Railway

                   (1912) S.C. 1327 ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า “น้ำมันในหิน”
                   (deposits of oil shale) อยู่ในความหมายของคำว่า “แร่ธาตุ” (minerals) ตาม
                   พระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่รัฐสภาตราขึ้นใน ค.ศ. 1817 หรือไม่ หากถือว่าน้ำมัน
                   ในหินเป็นแร่ธาตุ ก็ย่อมตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน เนื่องจากพระราช-

                   บัญญัติดังกล่าวได้กำหนดไว้ว่า แร่ธาตุที่อยู่ในพื้นดินให้ตกเป็นสิทธิของเจ้าของ
                   ที่ดิน แต่ถ้าน้ำมันในหินไม่อยู่ในความหมายของคำว่าแร่ธาตุก็จะตกเป็นของจำเลย
                   ผู้อ้างว่าน้ำมันในหินเป็นของตน เนื่องจากในปีที่พระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศ

                   ใช้บังคับ ยังไม่มีการขุดน้ำมันในหินขึ้นมาใช้ น้ำมันในหินดังกล่าวจึงไม่อยู่ใน
                   ความหมายของคำว่า “แร่ธาตุ” อันจะตกได้แก่เจ้าของที่ดิน ศาลสภาขุนนางซึ่งเป็น
                   ศาลสูงสุดของอังกฤษได้วินิจฉัยว่า สิ่งใดจะถือเป็นแร่ธาตุตามพระราชบัญญัติ

                   ดังกล่าวหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติในขณะที่
                   ตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าผู้บัญญัติกฎหมายในขณะนั้น
                   ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยรู้จักน้ำมันในหินมาก่อนจะถือว่าน้ำมันในหินเป็นแร่ธาตุ

                   ไม่ได้ จึงพิพากษาให้น้ำมันในหินตกเป็นของจำเลย อย่างไรก็ดี หากเหตุการณ์
                   เดียวกันนี้เกิดขึ้นในประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil law) เช่น
                   ประเทศเยอรมนี ผลแห่งคดีอาจตรงกันข้ามกับที่เกิดในอังกฤษ เนื่องจากศาล

                   เยอรมันสามารถพิจารณาเจตนารมณ์ของกฎหมายต่างไปจากเจตนารมณ์ของฝ่าย
                   นิติบัญญัติในขณะที่ตรากฎหมายได้ โดยถือว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ของตนเอง
                   เป็นเอกเทศและเป็นอิสระจากผู้บัญญัติกฎหมาย ศาลสามารถตีความกฎหมาย

                   โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทได้ ศาลเยอรมันจึงอาจ







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   531   532   533   534   535   536   537   538   539   540   541