Page 533 - kpi17968
P. 533
522
เป็นผู้ก่อการร้ายอย่างไม่มีกำหนดโดยปราศจากการตัดสินคดีในศาลถือเป็นการ
ละเมิดหลักนิติธรรม (Bradley&Ewing, 2011, p. 97) ซึ่งตรงกับแนวความคิด
หลักนิติธรรมของไดซีที่ว่า มนุษย์อาจจะถูกลงโทษสำหรับการละเมิดกฎหมาย แต่
เขาไม่สามารถถูกลงโทษนอกเหนือไปกว่านั้นได้ “a man may with us be
punished for a breach of law, but he can be punished for nothing else”
(Dicey, 1959, p. 291)
(2) เนื้อหาสาระ (Substantive content) ของหลักนิติธรรมที่
ใช้บังคับในอังกฤษได้เกิดคำถามว่าการปกครองควรอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของ
กฎหมายใดมากกว่าการปกครองนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมายใด หลักนิติธรรม
จะถูกหยิบยกขึ้นมาเมื่อพิจารณาอำนาจของฝ่ายปกครองที่ขัดแย้งกันในการปฏิบัติ
ตามบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนของภาคพื้นยุโรปที่ระบุอย่างแจ้งชัดใน
พระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1998 (Human Rights Act 1998) และ
ละเมิดหลักพื้นฐานทางนิติบัญญัติใหม่ของอังกฤษ (Bradley&Ewing, 2011,
p. 97-98) การตีความที่ขัดแย้งกันนี้ว่า ถ้าหากในกรณีหลักนิติธรรมจะต้องบังคับ
ใช้สิทธิพื้นฐานหรือสิทธิที่รับรองไว้โดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิที่จะไม่ถูก
คุมขังโดยไม่มีกำหนดและปราศจากการดำเนินคดีโดยศาล ซึ่งแตกต่างจาก
บทบัญญัติของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปในคดี A v. Home Secretary และ
ในคดี R (Corner House Research) v. Director of the Serious Fraud
Office (Bradley&Ewing, 2011, p. 98) จำเลยยอมให้ความห่วงใยในเรื่อง
ความมั่นคงแห่งชาติอยู่เหนือการสอบสวนการติดสินบนในสัญญาซื้อขายอาวุธ
ของกองทัพ ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า หลักนิติธรรมนั้นบังคับใช้จุดมุ่งหมายที่มี
อัตวิสัยของกฎหมายและอาจเป็นคุณค่าเพียงเล็กน้อย เทรวอร์ อัลเลน เห็นว่า
หลักนิติธรรมเป็นกลไกป้องกันสิทธิต่อต้านการล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของฝ่าย
นิติบัญญัติที่ไม่มีความรับผิดชอบ (irresponsible legislative encroachment)
ซึ่งมีอำนาจมากโดยมีเสียงข้างมากสนับสนุนในสภาสามัญชน (Allan, 1985,
111-112) หลักนิติธรรมจึงเป็นหลักตรงกันข้ามกับการปกครองโดยคน (Rule by
men) ซึ่งบุคคลเดียวอาจใช้อำนาจตามอำเภอใจกับคนอื่นได้ ประชาชนจึงต้องได้
รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพจากการใช้อำนาจของรัฐบาลโดยมีหลักนิติธรรม
ควบคุมให้รัฐบาลต้องปฏิบัติหน้าที่ภายในกรอบอำนาจตามกฎหมาย (Allan,
บทความที่ผานการพิจารณา