Page 535 - kpi17968
P. 535
524
ดังนั้น แม้ว่ารากฐานของหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
ได้ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ โดยอาศัยหลักกฎหมายจากคดีนายแพทย์
Thomas Boham ก็ตาม ศาลอังกฤษกลับไม่ได้พัฒนาหลักความเป็นกฎหมาย
สูงสุดของรัฐธรรมนูญให้เป็นหลักกฎหมายทั่วไป ในทางตรงกันข้าม หลังจากศาล
ได้มีคำพิพากษาคดีนายแพทย์ Thomas Boham แล้ว อังกฤษได้หันกลับไปถือ
หลักความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (Supremacy of the Parliament) แทนตาม
2
หลักการของไดซี่ (Dicey, 1959, pp. 37-38) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าอังกฤษ
ประสบความสำเร็จในการสถาปนาอำนาจรัฐสภาและการจำกัดพระราชอำนาจของ
พระมหากษัตริย์แล้วตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 (Petition of Rights in 1627 ; Bill
of Rights in 1689) แม้ปัจจุบันนี้ อังกฤษก็ยังคงเป็นประเทศที่ไม่แยกลำดับชั้น
ทางกฎหมาย (Hierarchy of law) ของรัฐธรรมนูญ โดยแยกรัฐธรรมนูญออกมา
ให้มีลำดับชั้นที่สูงกว่ากฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา
ดังประเทศภาคพื้นยุโรปในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil law) เช่น ฝรั่งเศส
และเยอรมนี ซึ่งยึดถือหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
(Supremacy of the Constitution)
1.3 คำวินิจฉัยคดีของศาลในการใช้อำนาจตุลาการตีความกฎหมาย
ตามหลักนิติธรรม
ในคดี Pepper v. Hart [1993] 1 All. E.R. 42, HL. ศาลสภา
ขุนนาง (ศาลฎีกา) ของอังกฤษได้นำหลักการตีความตามเจตนารมณ์มาปรับใช้
โดยขยายให้ครอบคลุมถึงการตีความกฎหมายทุกฉบับภายในอังกฤษควบคู่ไปกับ
หลักการตีความดั้งเดิมของอังกฤษ กล่าวคือ ศาลต้องพิจารณากฎหมายทั้งตามตัว
อักษรและตามเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมกัน แต่ถ้าตัวบทกฎหมายชัดเจน
อยู่แล้ว และไม่ปรากฏว่าผลแห่งการตีความตามตัวอักษรจนถึงขนาดเกิดผล
2 ไดซี่ได้กำหนดหลักความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภาว่า “The principle of Parliamentary
sovereignty mean neither more or less than this, namely that the Parliament thus
defined has, under the English constitution, the right to make or unmake any law
whatever; and, further, that no person or body is recognised by the law of England
as having the right to override or set aside the legislation of Parliament.”
บทความที่ผานการพิจารณา