Page 549 - kpi17968
P. 549
538
วินิจฉัยว่าการเก็บภาษีธนาคารสหรัฐของมลรัฐแมรีแลนด์สามารถมีผลบังคับใช้
หรือไม่ มาร์แชลปฏิเสธที่จะระบุข้อความส่วนหนึ่งส่วนใดของรัฐธรรมนูญ
ที่สนับสนุนคำวินิจฉัยของตน แต่มาร์แชลอ้างถึงโครงสร้างของการปกครองระบบ
สหพันธรัฐ โดยสรุปว่า การปกครองระบบนี้ไม่อาจดำรงอยู่ได้ ถ้ามลรัฐซึ่ง
เจ้าหน้าที่ของตนได้รับเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งภายในมลรัฐสามารถเก็บภาษี
หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐที่ดำเนินงานอยู่ภายในมลรัฐ จึงเสมือนหนึ่งมลรัฐเก็บ
ภาษีจากประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ มาร์แชลให้เหตุผลอีกว่า อำนาจ
เก็บภาษีคืออำนาจในการทำลายกฎหมายมลรัฐแมรีแลนด์ จึงแย้งต่ออำนาจสูงสุด
ของรัฐสภาของรัฐบาลสหรัฐที่จะจัดตั้งธนาคารและขัดต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ
ศาลสูงสุดสหรัฐได้ใช้วิธีตีความรัฐธรรมนูญแนวโครงสร้างนิยมในคดีทั้ง
สองข้างต้นและคดีอื่นที่ตามมาใช้พัฒนาคำวินิจฉัยที่ขยายหรือเปลี่ยนบทบัญญัติ
ลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลให้ศาลสูงสุดทำหน้าที่เสมือน
ศาลรัฐธรรมนูญเข้าควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายการเมืองอย่างเข้มข้น
และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ฝ่ายตุลาการจนสถาบันตุลาการอเมริกันถูกใช้
เป็นต้นแบบในการพัฒนาสถาบันตุลาการของประเทศต่างๆ ทั่วโลก แม้ฝรั่งเศส
ที่ยึดหลักยกย่องฝ่ายนิติบัญญัติก็เกือบรับระบบกลไก Judicial review ของ
สหรัฐอเมริกา โดยใน ค.ศ. 1903 นักนิติศาสตร์ด้านกฎหมายมหาชนชั้นนำหลาย
คนในฝรั่งเศสได้รณรงค์ให้มีการนำระบบกลไก Judicial review มาใช้ แต่การ
ณรงค์นี้ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากพรรคการเมืองใหญ่หลายพรรคขัดขวาง
อย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าระบบกลไก Judicial review ตามแบบสหรัฐอาจนำมา
ซึ่งการปกครองโดยความมีอำนาจสูงสุดของฝ่ายตุลาการ (Judicial supremacy)
ที่บั่นทอนอำนาจของฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารอย่างที่เป็นอยู่ในสหรัฐอเมริกา
หลักการแบ่งแยกอำนาจซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักนิติธรรม
ที่พัฒนาโดยมองเตสกิเออมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ผู้พิพากษาใช้อำนาจ
ตุลาการเข้ามาแทรกแซงการใช้อำนาจนิติบัญญัติสร้างกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ
โดยมีการแบ่งแยกอำนาจอย่างเด็ดขาดระหว่างอำนาจตุลาการในการตีความ
กฎหมายเพื่อพิจารณาพิพากษาตัดสินข้อพิพาทและอำนาจนิติบัญญัติในการสร้าง
กฎหมายออกมาใช้บังคับ แต่ในสหรัฐ หลักการแบ่งแยกอำนาจดำรงอยู่ภายใต้
บทความที่ผานการพิจารณา