Page 609 - kpi17968
P. 609
598
ต่อแนวทางการตีความรัฐธรรมนูญย่อมส่งผลต่อความคิดเห็นของสังคมมากกว่า
ความคิดเห็นของสถาปนิก แพทย์ ชาวนา หรือบุคคลอื่น
นอกเหนือจากแนวทางการตีความตามเจตนารมณ์ข้างต้น ยังมีนักคิด
นักกฎหมายอีกกลุ่มหนึ่งที่เสนอแนวทางการให้ความหมายแก่รัฐธรรมนูญที่แตก
ต่างออกไป ซึ่งได้นิยามแนวทางการศึกษารัฐธรรมนูญรูปแบบใหม่นี้เรียกว่า
รัฐธรรมนูญที่มีชีวิต (the living constitution)
รั ธรรมน ม ช ิต
รูปแบบแนวคิดของรัฐธรรมนูญที่มีชีวิต (the living constitution) เกิดขึ้น
ในต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งช่วงแรก ศาลสูงของสหรัฐฯ ก็ต่อต้านแนวคิดนี้ แต่ด้วย
ความมีเหตุมีผลและถูกต้องตามกฎหมายจึงได้เริ่มมีการวางรากฐานของแนวคิด
กฎหมายรัฐธรรมนูญสมัยใหม่เกิดขึ้น (Balkin, 2009, p.561)
รัฐธรรมนูญที่มีชีวิต มองว่ารัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
และปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ แม้ว่าจะปราศจากการแก้ไขปรับเปลี่ยนอย่างเป็น
ทางการ (Strauss, 2010, p.1) กล่าวคือ รัฐธรรมนูญสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อ
ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและบริบทของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปผ่านคำวินิจฉัยของ
ศาลในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งแนวคิดนี้เชื่อในความสามารถของผู้พิพากษาที่ผ่านการ
ฝึกฝนเฉพาะทางด้านกฎหมาย จะสามารถตัดสินได้ถึงสิ่งที่ดีกว่าให้แก่สังคม
แต่ไม่ใช่ผู้พิพากษาจะตัดสินอย่างไรก็ได้ตามค่านิยมความชอบส่วนตัว เพราะ
ผู้พิพากษาต้องถูกจำกัดด้วยธรรมเนียมของสังคมที่ดำรงอยู่ และคำพิพากษา
ที่ประกาศ/เปิดเผยแก่สาธารณะแล้วย่อมเปิดโอกาสให้เกิดการวิจารณ์ได้ ซึ่งจะ
เป็นอีกกระบวนการหนึ่งของการตรวจสอบผู้พิพากษา (Ibid., pp. 43-46)
สำหรับผู้ที่ยึดถือแนวทางรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตในการตีความรัฐธรรมนูญ
จะเห็นว่าแนวคิดนี้มีความเหมาะสมต่อการศึกษารัฐธรรมนูญมากกว่าแนวคิด
เจตนารมณ์นิยมด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
บทความที่ผานการพิจารณา