Page 197 - kpi18886
P. 197

189




                   นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487  กล่าวกันว่า การเข้าสู่ตำแหน่ง
                                                            28
                   นายกรัฐมนตรีของนายควง อภัยวงศ์นั้นเกิดขึ้นโดยสถานการณ์บังคับและเข้ามา
                   บริหารประเทศในสถานการณ์ที่มีทหารญี่ปุ่นอยู่ในไทย และมีเสรีไทยดำเนินการ
                                                                                       29
                   ใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นนับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสงครามที่กำลังตัดสินแพ้ชนะ
                   เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงโดยญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร
                   ประเทศไทย ได้ประกาศสันติภาพและเป็นมิตรต่อฝ่ายพันธมิตรที่นำโดย
                   สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ คณะรัฐมนตรี ของนายควง อภัยวงศ์ได้ประกาศลาออก

                   ทั้งคณะในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเปิดทางให้มีการ
                   จัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่โดยดึงผู้ที่มีความเหมาะสมและได้รับการยอมรับจาก
                   ต่างชาติเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน
                                               30

                         หลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายควง อภัยวงศ์ สภา
                   ผู้แทนราษฎรได้มีมติเลือกนายทวี บุณยเกตุ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อ

                   วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามครรลอง
                   ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม การเข้าดำรงตำแหน่ง
                   นายกรัฐมนตรีของนายทวี บุณยเกตุนั้นเป็นเพียงการเข้ามาแบบ “ขัดตาทัพ” เพื่อ

                   รอให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน หัวหน้าเสรีไทย
                   สายสหรัฐอเมริกาเดินทางกลับมารับช่วงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ
                   จึงเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ได้เพียง 18 วันก็ได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่

                   17 กันยายน พ.ศ. 2488 นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุด
                                                         31
                   ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย  ส่วนหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
                   เมื่อได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายก-รัฐมนตรีแล้ว

                   ได้ดำเนินการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ภายใต้
                   อาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งสามารถดำเนินการเจรจาได้เป็นผลสำเร็จ และพ้นจาก

                      28   อาริยา สุขโต. (ม.ป.ป.). “ควง อภัยวงศ์.” ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบัน
                   พระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ควง_อภัยวงศ์> เข้าถึงเมื่อ 10
                   ธันวาคม 2559.

                      29   นรนิติ เศรษฐบุตร. (2555). อ้างแล้ว. หน้า 185.
                      30   เพิ่งอ้าง, หน้า 212.
                      31   เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 1
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202