Page 208 - kpi18886
P. 208
200
การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่
สองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มีจำนวนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร 279 คน อยู่ในวาระ 4 ปี เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบผสม
(เขตละไม่เกิน 3 คน) ใช้อัตราส่วนราษฎร 150,000 คน ต่อ สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร 1 คน และผู้สมัครทุกคนต้องสมัครในนามพรรคการเมือง มีผู้มาใช้
สิทธิ 9,072,629 คน คิดเป็นร้อยละ 43.99 ผลปรากฏว่าจากพรรคการเมือง
62
ที่ส่งสมาชิกเข้าแข่งขัน จำนวน 39 พรรค มีพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับ
การเลือกตั้งเข้าสู่สภาผู้แทน จำนวน 19 พรรค โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรเข้ามามากที่สุด จำนวน 114 คน รองลงมาได้แก่ พรรคชาติไทย
56 คน พรรคกิจสังคม 45 คน พรรคธรรมสังคม 28 คน พรรคเกษตรสังคม
9 คน พรรคสังคมชาตินิยม 8 คน พรรคพลังใหม่ 3 คน พรรคพลังประชาชน
3 คน พรรคพัฒนาจังหวัด 2 คน พรรค พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย 2 คน
ตามลำดับ และที่เหลืออีก 9 พรรคมีสมาชิกได้รับการเลือกตั้ง จำนวน 1 คน
เท่ากัน ได้แก่ พรรคแนวร่วมสังคมนิยม พรรคแนวร่วมประชาธิปไตย พรรค
ไทสังคม พรรคธรรมาธิปไตย พรรคประชาธิปไตย พรรคพิทักษ์ไทย พรรค
แรงงาน พรรคสังคมก้าวหน้า และพรรคสยามใหม่ ภายหลังการเลือกตั้ง พรรค
63
ประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดได้ร่วมกับ
พรรคชาติไทย พรรคธรรมสังคม และพรรคสังคมชาตินิยม ในการจัดตั้ง รัฐบาลผสม
โดยมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี
64
เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดนี้อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานก็ถูกรัฐประหาร
เนื่องจากสังคมเกิดการแตกแยกทางอุดมการณ์ระหว่างขบวนการฝ่ายซ้ายที่นำโดย
นักศึกษามหาวิทยาลัยกับขบวนการฝ่ายขวาที่นำโดยฝ่ายทหารและข้าราชการ
จนนำไปสู่การล้อมปรามนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเช้าตรู่ของวันที่
6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ส่งผลให้คณะทหารที่เรียกตัวเองว่าคณะปฏิรูปการปกครอง
แผ่นดินที่นำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ได้ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจการปกครอง
62 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
63 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 79.
64 เพิ่งอ้าง, หน้า 79.
การประชุมกลุมยอยที่ 1