Page 203 - kpi18886
P. 203
195
กับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้ไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับ
อุดมการณ์ของคณะราษฎร การสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา เพื่อต่อสู้กับอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ที่กำลังแผ่ขยายเข้ามาใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความอ่อนแอของภาคนอกราชการ ได้แก่
พรรคการเมือง นักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ สื่อหนังสือพิมพ์ และประชาชน
โดยทั่วไปที่ถูกกดดันและปิดกั้นการแสดงออก การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการ
48
เลือกตั้งซึ่งจัดขึ้นเพียงครั้งเดียวในช่วงเวลานี้จึงเกิดขึ้นภายใต้การครอบงำและชี้นำ
โดยคณะนายทหารที่มีกองทัพและระบบราชการเป็นเครื่องมือ
เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
แล้ว จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นในวันที่
24 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ใช้ชื่อว่า “พรรคสหประชาไทย” โดยจอมพลถนอม
กิตติขจรดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคด้วยตนเอง นับเป็นพรรคการเมืองพรรค
แรกที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นหลังจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้ถูกยุบไปเมื่อคราวที่
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.
2501 โดยสมาชิกพรรคสหประชาไทยส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเดิมสมัยมีพรรค
49
เสรีมนังคศิลามาจนถึงพรรคสหภูมิและพรรคชาติสังคม ผลจากการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ปรากฏว่า
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองต่างๆ ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ดังนี้
พรรคสหประชาไทย 76 คน พรรคประชาธิปัตย์ 57 คน พรรคแนวร่วมเศรษฐกร
4 คน พรรคแนวประชาธิปไตย 7 คน พรรคประชาชน 2 คน พรรคเสรีประชาธิปไตย
1 คน พรรคชาวนาชาวไร่ 1 คน และผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรค 71 คน รวมทั้งสิ้น
219 คน ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าพรรคสหประชาไทยจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามามาก
50
ที่สุด แต่การที่จะตั้งรัฐบาลได้จะต้องมีสมาชิกสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง จอมพลถนอม
กิตติขจรจึงได้ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลโดยดึงเอาผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคทั้ง 71 คน
มาร่วมเป็นรัฐบาล ส่วนพรรคประชาธิปัตย์และพรรคการเมืองที่เหลือเป็นฝ่ายค้าน
นับเป็นการกลับเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3 ของจอมพลถนอม
48 Ibid.
49 เพิ่งอ้าง.
50 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 76-77.
การประชุมกลุมยอยที่ 1