Page 204 - kpi18886
P. 204
196
กิตติขจร และเป็นเพียงครั้งเดียวที่จอมพลถนอม กิตติขจรเข้าสู่อำนาจโดยการ
51
ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม การบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลผสมของจอมพลถนอม
กิตติขจร ต้องเผชิญ กับปัญหาความขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง เช่น ในเรื่องร่างกฎหมาย
ให้ถ่ายทอดเสียงการประชุมรัฐสภา การตั้งกระทู้ถามรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบาย
ต่างประเทศ เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลาออกจาก
ตำแหน่ง ตลอดจนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี พ.ศ.
2515 ที่มีความล่าช้า เนื่องจากเกิดปัญหาการแบ่งปันงบประมาณจนถูกโจมตีจาก
พรรคฝ่ายค้าน และมีแนวโน้มว่ากฎหมายงบประมาณประจำปีอาจไม่ผ่านความ
เห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ในที่สุด จอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพล
52
ประภาส จารุเสถียร จึงได้ตัดสินใจปฏิวัติตัวเองในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.
2514 และได้ทำการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
และหันกลับมาประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว (ธรรมนูญการปกครอง
ราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515) ซึ่งกำหนดรูปแบบของสภานิติบัญญัติ
ในลักษณะเดียวกับสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อีกครั้งหนึ่ง 53
(3) การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งในช่วงหลังเหตุการณ์
14 ตุลา 16 ถึง พ.ศ. 2520
ความเพิกเฉยต่อการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรของจอมพล ถนอม
กิตติขจร ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ จนนำไปสู่
การเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยจากบรรดานิสิต นักศึกษา และ
ประชาชน เหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นวันที่นิสิต
นักศึกษา และประชาชนได้ลุกฮือขึ้นล้มรัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร
และคณะได้สำเร็จนับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงอันมีความสำคัญยิ่งครั้งหนึ่งของ
51 ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์. (ม.ป.ป.ก). เรื่องเดียวกัน.
52 เพิ่งอ้าง.
53 สุจิต บุญบงการ. (2549). “รัฐสภาไทย,” ใน นรนิติ เศรษฐบุตร, บรรณาธิการ.
การเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 43.
การประชุมกลุมยอยที่ 1