Page 209 - kpi18886
P. 209
201
ในวันเดียวกันนั้น ภายหลังการยึดอำนาจ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
65
ได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และ
ได้ใช้คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินเป็นกฎหมายในการปกครองประเทศ
ชั่วคราว รวมทั้งได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการห้าม
มั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ห้ามออกจากบ้านในเวลา 24.00 น. และ
ต่อมาคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้มอบอำนาจให้แก่ฝ่ายพลเรือนเข้ามาจัด
ตั้งรัฐบาล โดยมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 66
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว ในวันที่
22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้ทำการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2519 ซึ่งมีสาระสำคัญ ได้แก่ การกำหนดให้มีสภาที่ปรึกษานายก-
รัฐมนตรีมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นายกรัฐมนตรี และสภาปฏิรูปการปกครองแผ่น
ดินทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
67
พุทธศักราช 2519 มาตรา 21 ยังบัญญัติให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรีในการ
ลงโทษผู้กระทำการอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร
ราชบัลลังก์และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่นเดียวกับมาตรา 17
ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 และพุทธศักราช
2515 รวมทั้งกำหนดให้มีแผนพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย อย่างไร
68
ก็ตาม รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียรต้องเผชิญกับปัญหามากมาย อาทิ
การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นไปด้วยความล่าช้า การเกิดเหตุการณ์กบฏเมื่อวันที่
26 มีนาคม 2520 การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุม
เสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิด
65 เพิ่งอ้าง, หน้า 79-80.
66 นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์. (ม.ป.ป.ก). “รัฐประหาร.” ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง
สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=รัฐประหาร#.> เข้าถึง
เมื่อ 25 ธันวาคม 2559.
67 ธนินทร พูนศรีสวัสดิ์. (ม.ป.ป.). “ธานินทร์ กรัยวิเชียร.” ฐานข้อมูลการเมือง
การปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=
ธานินทร์_กรัยวิเชียร> เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2559.
68 เพิ่งอ้าง.
การประชุมกลุมยอยที่ 1