Page 205 - kpi18886
P. 205
197
พัฒนาการทางเมืองของประเทศไทย ในยุคดังกล่าวรูปแบบของรัฐบาลเผด็จการ
54
ที่เคยควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จและเก็บกดปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
55
ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปสู่รูปแบบที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างกว้างขวาง
ความตื่นตัวทางการเมืองของนิสิต นักศึกษา และประชาชนในครั้งนั้น เป็นผล
มาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่นโยบาย
การพัฒนาประเทศของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และการที่บ้านเมืองได้พัฒนาไป
ในแนวทางที่หลากหลายขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านการศึกษา จนผู้คน
ในสังคมมีความแตกต่างหลากหลายกันมากขึ้น และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองในที่สุด อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองการปกครอง
56
ไทยในช่วงเวลาต่อจากนั้นจนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาล
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.
2520 เป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 4 ปีกลับมีรูปแบบที่หลากหลายเช่นเดียวกับ
ในยุคอื่นๆ คือมีทั้งการแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การเลือกตั้ง
ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย และการรัฐประหาร
ภายหลังเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้มีพระราชโองการ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์และองคมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของประเทศไทย โดย
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้จัดตั้งคณะรัฐบาลชุดที่ 30 ประกอบด้วยพลเรือน 19 คน
57
ตำรวจ 3 คน และทหาร 2 คน และได้มีการแต่งตั้งพลเอก กฤษณ์ สีวะรา
ผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบแห่งชาติ และแต่งตั้ง
นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและคณบดี
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่าย
เศรษฐกิจ ภารกิจแรกที่รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ต้องทำคือการเร่งยกร่าง
54 นรนิติ เศรษฐบุตร. (2555). อ้างแล้ว, หน้า 263.
55 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2543.) บันทึกประวัติศาสตร์ 14 ตุลา. กรุงเทพ: สายธาร.
56 ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2548). และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองวัฒนธรรม
ของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
57 พงษ์ศักดิ์ ปัตถา. (ม.ป.ป.). “สัญญา ธรรมศักดิ์.” ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง
สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สัญญา_ธรรมศักดิ์>
เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2559.
การประชุมกลุมยอยที่ 1