Page 206 - kpi18886
P. 206
198
รัฐธรรมนูญใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2516 อันเป็น
วันรัฐธรรมนูญ ได้มีการแต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้นจำนวน 2,347 คน จากนั้นได้มี
พระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติเดิมซึ่งถือเป็นมรดกตกค้างของ
ระบอบเผด็จการในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม
พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้นำรายชื่อบุคคลที่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกกันเอง
ให้เหลือเพียง 299 คน ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดใหม่ 58
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลภายใต้การนำของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ต้องเผชิญกับ
สถานการณ์บ้านเมืองที่ยังคงมีเหตุการณ์ให้รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาอยู่แทบทุกวัน
เนื่องจากความไม่พอใจที่ประชาชนมีต่อคณะรัฐมนตรีที่หลายคนเป็นรัฐมนตรี
หน้าเดิมจากคณะรัฐมนตรีชุดก่อน นอกจากนี้ รัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์
ยังมีปัญหาความไม่มีเสถียรภาพเนื่องจากเสรีภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ ซึ่งความเป็นอิสระของสมาชิกดังกล่าวได้ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติที่
รัฐบาลเสนอไม่ผ่านการลงมติถึง 3 ครั้ง เมื่อเป็นดังนี้นายสัญญาจึงได้แสดงความ
รับผิดชอบโดยการขอลาออกจากจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ก็ต้องกลับเข้ารับ
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นวาระที่ 2 จากการร้องขอของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์
ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติและการเห็นชอบ จากสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2517 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 26 มกราคม
พ.ศ. 2518
การเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 มีจำนวน สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร 269 คน อยู่ในวาระ 4 ปี เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบผสม
(เขตละไม่เกิน 3 คน) ใช้อัตราส่วนราษฎร 150,000 คน ต่อ สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร 1 คน และผู้สมัครทุกคนต้องสมัครในนามพรรคการเมือง มีผู้มาใช้
สิทธิ 9,473,320 คน คิดเป็นร้อยละ 47.17 ปรากฏว่า มีพรรคการเมือง
59
58 วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. (2546). สัญญา ธรรมศักดิ์ คนของแผ่นดิน. (กรุงเทพฯ
กองทุนศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์), หน้า 227-229.
59 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
การประชุมกลุมยอยที่ 1