Page 240 - kpi18886
P. 240
232
เป็นเวลานาน การห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน กระบวนการ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใช้เวลายาวนานกว่าจะประกาศใช้ ประชาชนไม่ได้รับ
การรับร้องสิทธิเสรีภาพตามหลักนิติธรรม ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นจากสถาบันและ
กระบวนการทางการเมืองในเวลานั้น เช่น รัฐสภาไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับ
ประชาชนและตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลได้ รัฐบาลเผด็จการทหาร
ครองอำนาจยาวนานและมีการสืบต่ออำนาจจนเป็นที่มาของการทุจริตคอร์รัปชัน
เป็นต้น เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงได้ก่อให้เกิดดุลอำนาจของภาค
ประชาชนขึ้นจากกลุ่มนักเรียนนิสิตนักศึกษาที่เคลื่อนไหวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
หรือประชาธิปไตย และตรวจสอบถ่วงดุลกับสถาบันทางการเมืองทั้งรัฐสภาและ
รัฐบาล แต่หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สถานการณ์ทางการเมือง
ได้ก้าวเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ส่งผลให้ “ดุลอำนาจทางการเมือง
ภาคประชาชน” ซึ่งเป็นดุลอำนาจทางการเมืองใหม่ต้องสะดุดหยุดลง
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา กระแสการเรียกร้องเพื่อสร้างความเป็น
ประชาธิปไตยยังคงปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งการรัฐประหารในวันที่
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
ได้นำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เป็นผลให้เกิดการเรียกร้องให้มี
การปฏิรูปการเมือง อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ซึ่งเปิดพื้นที่ให้แก่การมีส่วนร่วมและการเมืองภาคประชาชน
อย่างกว้างขวาง รวมทั้งเกิดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็น “ดุลอำนาจ
ในการตรวจสอบ” ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น สืบเนื่องมาสู่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แต่ยังคงมีการต่อสู้ของ
กลุ่มอำนาจต่าง ๆ จนเกิดเป็นความขัดแย้งทางทางการเมือง และมีการเคลื่อนไหว
ชุมนุมใหญ่ของมวลชนกลุ่มต่าง ๆ เกิด “ดุลอำนาจการเมืองแบบมวลชน”
ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
และการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จากพลวัตของการเมืองไทยใน 8 ทศวรรษที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึง
สภาพปัญหาของดุลยภาพแห่งอำนาจ การออกแบบรัฐธรรมนูญและสถาบัน
การเมือง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาแนวทางในการเสริมสร้าง
ดุลยภาพแห่งอำนาจให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และเหมาะสม
การประชุมกลุมยอยที่ 2