Page 237 - kpi18886
P. 237

229





                   ดุลแห่งอำนาจในระบอบประชาธิปไตยไทย



                                         รองศาสตราจารย์ยุทธพร  อิสรชัย
                                         อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์

                                         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช




















                         ประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภาที่มีพัฒนาการขึ้นในสังคมตะวันตก
                   มีหลักการสำคัญอันเป็นรากฐานของระบบนี้ก็คือ หลักการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกัน
                   และกันระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทางนิติบัญญัติและองค์กร

                   ผู้ใช้อำนาจทางบริหาร ระบบรัฐสภาที่มีกลไกการตรวจสอบซึ่งกันและกัน อันเป็น
                   รูปแบบดั้งเดิมของระบบรัฐสภาที่เรียกว่า ระบบรัฐสภาแบบอำนาจคู่ ในระยะต่อ
                   มาวิวัฒนาการของระบบรัฐสภาได้ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยน ให้กลไกถ่วงดุลระหว่าง

                   ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารแปรเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มต้นจากการที่ประชุมของ
                   รัฐค่อย ๆ หมดบทบาททางการเมืองลง ไปสู่การที่ประมุขของรัฐต้องยินยอม
                   แต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารจากบุคคลที่สภานิติบัญญัติให้ความสนับสนุน จนกระทั่ง

                   ถึงจุดสุดท้ายที่ประมุขของรัฐจะต้องตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารจากหัวหน้าพรรค
                   การเมืองที่มีเสียงสนับสนุนมากที่สุดในสภาเท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่ารัฐบาลกับ
                   เสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติย่อมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมี

                   ผลประโยชน์ในทางการเมืองร่วมกัน ดังที่ปรากฏเป็นข้อเท็จจริงอยู่ในประเทศที่ใช้
                   ระบบรัฐสภาหลายประเทศในปัจจุบัน









                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242