Page 239 - kpi18886
P. 239
231
ระบอบประชาธิปไตยไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475 ได้นำรูปแบบการเมืองการปกครองแบบรัฐสภาที่มีการแบ่งแยก
อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติมีองค์กรผู้ใช้อำนาจคือ
รัฐสภา อำนาจบริหารมีองค์กรผู้ใช้อำนาจคือ รัฐบาล และอำนาจตุลาการมีองค์กร
ผู้ใช้อำนาจคือ ศาล อย่างไรก็ตาม สภาพความเป็นจริงของระบอบประชาธิปไตย
ไทยนั้น ดุลอำนาจทางการเมืองมีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต
โดยตลอด 8 ทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง
ราชอาณาจักร 20 ฉบับ มีการรัฐประหารจำนวน 13 ครั้ง แต่การออกแบบ
การเมืองการปกครองและการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศยังคงผูกขาด
อยู่กับชนชั้นนำหรือชนชั้นผู้ปกครอง มิได้สนองตอบต่อความต้องการหรือเป็นไป
เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนโดยส่วนรวม รัฐบาลไร้เสถียรภาพ
ขาดประสิทธิภาพและความต่อเนื่อง มีความอ่อนแอในการบริหารราชการแผ่นดิน
รัฐสภาขาดประสิทธิภาพในด้านการออกกฎหมายและการควบคุมตรวจสอบ
ฝ่ายบริหาร กลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและบริหาร
ไม่สามารถทำให้เกิดความรับผิดชอบทางการเมืองหรือทางกฎหมายได้ ฝ่าย
ตุลาการไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือการทุจริตคอร์รัปชันและ
ลงโทษผู้กระทำความผิดได้ ขณะที่บางสมัยก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นตุลาการ
ภิวัฒน์ จึงทำให้สังคมไม่เชื่อมั่นต่อบุคลากรและสถาบันทางการเมือง รวมถึง
การจัดดุลแห่งอำนาจของสถาบันทางการเมืองผู้ใช้อำนาจอธิปไตยหลัก 3 สถาบัน
ดังกล่าว จึงเกิดการท้าทายจากดุลอำนาจทางการเมืองอื่นในเหตุการณ์สำคัญ
3 ครั้งที่สะท้อนให้เห็น “การขาดความสมดุล” ของสถาบันและกระบวนการ
ทางการเมืองไทย ได้แก่ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เหตุการณ์
พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง พ.ศ. 2548-2557
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นภาพสะท้อนให้เห็นการขาดความ
สมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาทางการเมืองในสมัยนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1 ใน
พ.ศ. 2504 ได้ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการศึกษาส่งผลให้เกิด
ชนชั้นกลางที่ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ขณะที่โครงสร้างสถาบันทาง
การเมืองในขณะนั้นไม่สามารถตอบสนองได้อย่างสมดุล เช่น ไม่มีการเลือกตั้ง
การประชุมกลุมยอยที่ 2