Page 238 - kpi18886
P. 238
230
เมื่อองค์กรผู้ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติคือ รัฐสภา และองค์กรผู้ใช้อำนาจทาง
บริหารคือ รัฐบาล ได้หลอมรวมอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย และการบริหาร
ราชการแผ่นดินเข้าไว้ภายในกลุ่มอำนาจเดียวกันคือ กลุ่มหรือพรรคการเมือง
ที่มีเสียงข้างมากในสภา ซึ่งจะสามารถกำหนดให้ผู้นำของกลุ่มหรือของ
พรรคการเมืองนั้น ๆ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเท่ากับเป็นผู้มีอำนาจ
สูงสุดทั้งในทางบริหารและในทางนิติบัญญัติเช่นนี้ส่งผลให้ระบบรัฐสภาปัจจุบันนั้น
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากที่เคยเป็นระบบรัฐสภาแบบอำนาจคู่ (dualist) มาเป็น
ระบบรัฐสภาแบบอำนาจเดี่ยว (monist)
หลังจากที่สงครามครั้งที่สองได้สิ้นสุดลง ประเทศประชาธิปไตยตะวันตก
ได้ตระหนักถึงความเสียหายร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน
ระบบควบคุมตรวจสอบทางการเมือง ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ
ความเปลี่ยนแปลงในทางสังคมวิทยาการเมืองที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นจึงได้มีการปฏิรูป
รัฐธรรมนูญอันเป็นกรอบที่วางระบบความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างองค์กร
ในทางการเมืองต่าง ๆ ของตนเสียใหม่ให้สามารถมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุล
ระหว่างองค์กรในทางการเมืองต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพและสามารถแก้ไขปัญหา
วิกฤตในทางสังคมและในทางการเมืองของประเทศเหล่านั้นได้ แนวทาง
การปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทาง
สังคมวิทยาการเมืองเช่นนี้ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นแนวดำเนินการ
ที่เหมาะสมและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล
ระหว่างองค์กรในทางการเมืองต่าง ๆ ได้ และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปในทาง
ทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า “ระบบรัฐสภาที่ทำให้มีเหตุผลขึ้น”
(Rationalized Parliamentary System) โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการ
ปรับเปลี่ยนกลไกดั้งเดิมของระบบรัฐสภาอยู่สองประการ กล่าวคือ ประการแรก
การกำหนดให้มีองค์กรควบคุมตรวจสอบในทางการเมืองอื่นๆ นอกจากกลไก
ดั้งเดิมที่มีอยู่ไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น องค์กรศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรตรวจสอบ
ความถูกต้องชอบธรรมของการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกระบวนการ
ออกเสียงเลือกตั้ง ฯลฯ ประการที่สอง การปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ระหว่าง
อำนาจในทางการเมืองของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ (สุรพล นิติไกรพจน์,
2551)
การประชุมกลุมยอยที่ 2