Page 241 - kpi18886
P. 241
233
กับสภาพการเมืองการปกครองและบริบทของสังคมไทย หรือที่เรียกว่า
“ประชาธิปไตยได้ดุล”
ดุลแห่งอำนาจ คือการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหนึ่งกับอีก
อำนาจหนึ่งอย่างเหมาะสม (เพลินตา ตันรังสรรค์, 2558: 98) ตลอดระยะเวลา
8 ทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยได้พยายามจัดดุลแห่งอำนาจมาโดยตลอด
ผ่านเครื่องมือสำคัญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้ง 20 ฉบับ
ความพยายามจัดดุลแห่งอำนาจมักสอดคล้องตามแนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดในช่วง
เวลานั้น หากแต่การจัดดุลแห่งอำนาจนั้นกลับกลายเป็นการแก้ปัญหาหนึ่งและ
นำไปสู่อีกปัญหาในอนาคต เพราะเป็นการมองจากปัญหาเข้าสู่หลักการมิได้มอง
จากหลักการเพื่อแก้ปัญหาอย่างครบถ้วนรอบด้าน
ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ไต้มีการจัด
ดุลแห่งอำนาจโดยให้น้ำหนักไปที่ “สภาผู้แทนราษฎร” เป็นอย่างมาก จนอาจ
กล่าวไต้ว่าสภาพการเมืองไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระยะแรก
มีลักษณะ “อำนาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา” (Supremacy of Parliament) โดย
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ได้กำหนดโครงสร้างชองรัฐสภาให้เป็นระบบ
สภาเดี่ยวคือ สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกนี้มีที่มาจาก
การแต่งตั้งซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจในองค์กรอำนาจอื่นใด ดังนั้น
จึงได้มอบอำนาจให้แก่สภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการตรา
กฎหมาย การดูแลควบคุมกิจการของประเทศ การจัดตั้งรัฐบาล รวมทั้งอำนาจ
ในการถอดถอนกรรมการราษฎรหรือเจ้าหน้าที่ประจำออกจากตำแหน่ง ตลอดจน
ในกรณีที่มีปีญหาใด ๆ ซึ่งต้องพิจารณาวินิจฉัยก็ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
สภาผู้แทนราษฎรด้วย
ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 เป็นด้นมา เป็นการจัดดุลแห่งอำนาจ
เกี่ยวกับระบบรัฐสภา มาโดยตลอด แทนที่จะจัดดุลแห่งอำนาจที่มีอยู่หลายดุล
ไปพร้อมกัน แต่กลับเลือกจัดเฉพาะบางดุลอำนาจเท่านั้น เช่น ในบางยุคบางสมัย
ให้น้ำหนักระหว่างรัฐสภากับรัฐบาลอย่างมาก ซึ่งสุดท้ายก็ไม่อาจสร้าง
ประชาธิปไตยที่มีความสมดุลขึ้นมาได้ ดังจะเห็นได้จากกรณีที่รัฐบาลหรือ
การประชุมกลุมยอยที่ 2