Page 242 - kpi18886
P. 242
234
คณะรัฐมนตรีซึ่งแม้จะมีการกำหนดให้มีที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐสภาก็ตาม
แต่กลับกลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือรัฐสภา ในบางสมัยกำหนดให้ผู้สมัครรับ
เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นสมาชิกหรือสังกัดพรรคการเมือง
และหากพรรคการเมืองใดได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมากแล้ว
พรรคการเมืองนั้นก็จะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล รวมทั้งกำหนดให้สมาชิก
ภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหากลาออกหรือถูกขับออกจาก
พรรคการเมือง ดังนั้นในกรณีที่พรรคการเมืองมีมติให้ต้องปฏิบัติอย่างไร สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรซึ่งสังกัดพรรคการเมืองนั้นก็ต้องปฏิบัติตาม เพราะหากฝ่าฝืน
หรือไม่ปฏิบัติตามแล้วก็อาจจะถูกขับออกจากพรรคอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพ
ต้องสิ้นสุดลงใต้ ซึ่งการออกแบบกฎเกณฑ์ดังกล่าวย่อมไม่สามารถทำให้รัฐบาล
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลหรือตรวจสอบควบคุมโดยรัฐสภาไต้อย่างแท้จริง เพราะ
แม้จะกำหนดให้รัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาก็ตาม แต่เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ไม่สามารถแสดงบทบาทใด ๆ ในฐานะตัวแทนประชาชนที่ขัดต่อมติฃอง
พรรคการเมืองไต้ รัฐบาลจึงกลายเป็นใหญ่ มีอำนาจเหนือ และสามารถครอบงำ
รัฐสภาได้ในที่สุด จึงก่อให้เกิดคำถามต่อประสิทธิผลของรัฐสภาโดยเฉพาะ
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและกระบวนการนิติบัญญัติ (เพลินตา
ตันรังสรรค์, 2558: 99-100)
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และเหตุการณ์พฤษภาคม
พ.ศ. 2535 ดุลแห่งอำนาจระหว่างการเมืองภาคสถาบันทางการเมืองกับการเมือง
ภาคประชาชนได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง พร้อม ๆ กับการพูดถึงความล้มเหลว
ของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน จากสาเหตุที่ไม่สามารถจัดดุลแห่งอำนาจ
ระหว่างรัฐสภากับรัฐบาลได้ ดังนั้น จึงได้มีการเปิดพื้นที่ให้แก่การเมือง
ภาคประชาชน กลไกของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งการออกแบบสร้าง
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุม จัดการ
และตรวจสอบ การใช้อำนาจ สิ่งเหล่านี้ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2540
หลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และ 22 พฤษภาคม
พ.ศ. 2557 กลไกในการควบคุมกำกับตรวจสอบฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง
มีความเข้มข้นยิ่งขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
การประชุมกลุมยอยที่ 2