Page 244 - kpi18886
P. 244
236
การที่บุคคลและสถาบันต่างๆ ในสังคมนั้น ได้ต่อสู้ช่วงชิงและรักษาสถานะแห่ง
อำนาจของตนมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดการยอมรับกันในระดับหนึ่ง กลายเป็น
ประเพณีทางการปกครองและการเมืองขึ้น กล่าวได้ว่า วิถีชีวิต วิถีความคิด และ
ค่านิยมของสังคมนั้นๆ เคยชินที่จะมองเห็นว่าอำนาจที่ชอบธรรมนั้นต้องสัมพันธ์
กันอย่างนั้นๆ อย่างเป็นแบบแผนต่อเนื่องที่เรียกว่า “วัฒนธรรมทางการเมือง”
วัฒนธรรมทางการเมืองของทุกสังคมไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง เพราะการต่อสู้ช่วง
ชิงและรักษาสถานะแห่งอำนาจของสถาบันและบุคคลในทุกสังคมไม่ได้หยุดนิ่ง
ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ตามกระแสความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา คนในสังคมนั้นจึงอาจมีค่านิยมในทางการเมืองเปลี่ยนไป
เช่น คิดว่าสถาบันนั้นควรสัมพันธ์เชิงอำนาจกับอีกสถาบันอย่างหนึ่งอย่างไร และ
ที่เคยสัมพันธ์กันมาแบบนั้นไม่ชอบธรรมเสียแล้ว วัฒนธรรมทางการเมืองจึงเป็น
ข้อกำหนดสูงสุดจริงๆ ใน เรื่องสัมพันธภาพทางอำนาจ หรือกล่าวอีกอย่างหนี่ง
ก็คือ “วัฒนธรรมทางการเมืองคือรัฐธรรมนูญที่แท้จริงของสังคมไทย” ที่ค่อยๆ
เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อยู่ตลอดเวลา และกฎหมายระเบียบใดก็ไม่อาจล่วงละเมิด
ข้อกำหนดที่มีในวัฒนธรรมทางการเมืองนี้ได้
ในบางสังคมการเมือง รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรมีความ
สอดคล้องวัฒนธรรมทางการเมือง รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรจึงค่อนข้างคงอยู่
อย่างคงทนถาวร อย่างไรก็ตาม การเมีองการปกครองของสังคมการเมืองเหล่านั้น
ก็ยังต้องอาศัยประเพณีซึ่งไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอีกมาก เช่น เป็นประเพณีว่า
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะไม่ดำรงตำแหน่งเกินสองสมัยก็หาได้มีการกำหนดไว้ใน
รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ไม่ แต่ถือปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณีทางการเมีองที่ไม่ค่อย
จะละเมิดกัน จึงนับว่าศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยไปกว่าข้อกำหนดอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับ
ลายลักษณ์อักษร ในทางตรงกันข้าม รัฐธรรมนูญในบางสังคมที่ร่างขึ้นโดย
ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมือง จึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อะไร
การรัฐประหารและฉีกรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และประชาชน
ส่วนใหญ่ก็ไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจแต่อย่างใด (ปรับปรุงจาก นิธิ เอียวศรีวงศ์,
2547: 126-127)
การประชุมกลุมยอยที่ 2