Page 243 - kpi18886
P. 243

235




                   และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นลำดับ โดยเฉพาะ

                   อย่างยิ่งในยุคสมัยการเมืองแบบมวลชนที่มวลชนพยายามเข้ามาเป็นอีกดุลอำนาจ
                   หนึ่งในทางการเมือง อาจเรียกปรากฏการณ์นี้ได้ว่า “มวลชนาธิปไตย” อย่างไร
                   ก็ตาม การจัดดุลแห่งอำนาจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง

                   อำนาจให้ครบถ้วนสมบูรณ์รอบด้าน โดยจะต้องไม่เลือกจัดระบบความสัมพันธ์
                   หรือดุลแห่งอำนาจเพียงบางอำนาจเท่านั้นอีกด้วย แต่ตลอดระยะเวลา 8 ทศวรรษ
                   ที่ผ่านมาสังคมการเมืองไทยยังเลือกจัดระบบความสัมพันธ์หรือดุลแห่งอำนาจ

                   เพียงบางอำนาจตามโอกาสหรือตามปัญหา ผ่านรัฐธรรมนูญซึ่งเปรียบเสมือน
                   “กล่องแห่งความฝัน” ของคนในแต่ละยุคสมัยที่ต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่อง
                   มือในการแก้ปัญหาตามโอกาสที่เกิดขึ้น ตามแนวทาง “รัฐธรรมนูญนิยม”

                   (constitutionalism) ซึ่งอาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนในหลักการของ
                   ประชาธิปไตยหรือก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวขึ้นไต้


                         ในช่วงเวลาทศวรรษแห่งความขัดแย้งทางการเมือง หลายฝ่ายมีความ
                   ไม่เชื่อมั่นในองค์กรผู้ใช้อำนาจ และมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการใช้อำนาจต่าง ๆ
                   เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เช่น ข้อสงสัยเกี่ยวกับที่มาของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7

                   ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธคักราช 2550 หรือเมื่อมีการยุบสภา
                   ผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภา
                   ผู้แทนราษฎรต้องสิ้นสุดลงก่อนวาระและทำให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง

                   ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ที่พ้นจากตำแหน่งนั้นต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่
                   ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ซึ่งในระหว่างที่
                   คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก็มีปัญหาว่า หากยังคงมีความเป็นรัฐบาลแล้ว

                   การประกาศใช้กฎอัยการศึกของผู้บัญชาการทหารบกในวันที่ 20 พฤษภาคม
                   พ.ศ. 2557 จะทำได้หรือไม่ และอาศัยฐานอำนาจตามกฎหมายใด เป็นต้น
                   สถานการณ์ที่เกือบอยู่ในสภาวะ “รัฐล้มเหลว” (failed state) ดังกล่าว ก่อให้

                   เกิดคำถามว่า รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือเพียงอย่างเดียวในการจัดความสัมพันธ์
                   ดุลแห่งอำนาจของสังคมไทยหรือไม่ ?


                         หากพิจารณาลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมต่าง ๆ จะพบว่า ข้อกำหนด
                   ของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมหนึ่ง ๆ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากใครเป็น
                   ผู้กำหนดขึ้นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เกิดขึ้นจาก




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248