Page 363 - kpi18886
P. 363

355




                   ทั้งที่ในสังคมมีคนรวยน้อยกว่าคนจนแต่กลับให้คนรวยกับคนจนมีจำนวน

                   ผู้แทนในสภาเท่ากัน แต่คนรวยถ้านอนหลับทับสิทธิ เมินเฉยทางการเมืองจะถูก
                   ลงโทษมากกว่า ในขณะที่ชนชั้นต่ำจะไม่ถูกลงโทษ การลงคะแนนใดๆ ก็ใช้
                   เสียงข้างมากของสภา การปกครองนี้เป็นการผสานระหว่างประชาธิปไตยและ

                   อภิชนาธิปไตย เป็นการผสมระหว่างความเฉลียวฉลาดและจำนวน การที่เปลโตให้
                   ชนชั้นสูงผู้ร่ำรวยมีสิทธิมากกว่าคนอื่น เพราะเห็นว่าผู้ที่สามารถสร้างทรัพย์สิน
                   ได้มากกว่าย่อมมีความสามารถทางการเมืองมากกว่า ในรัฐแบบนี้เปลโตให้หญิง

                   มีสิทธิเท่ากับชาย ต่อต้านพาณิชย์นิยม ให้รัฐเป็นสังคมกสิกรรม เพราะเชื่อว่า
                   สังคมกสิกรรมจะไม่ทำให้คนรวยจนเกินไปจนไม่ใส่ใจกิจการบ้านเมือง การค้า
                   ให้ทำโดยคนต่างด้าวภายใต้การดูแลอย่างเข้มงวด ในเรื่องของการค้านี้ เปลโต

                   เห็นว่าพ่อค้าเป็นผู้ที่มุ่งแสวงหากำไรและความร่ำรวยทางวัตถุ คนพวกนี้ไม่สมควร
                   ให้มายุ่งเกี่ยวกับการปกครอง เพราะไม่สามารถมามีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่าง
                   เต็มที่เพราะพ่อค้าย่อมให้ความสำคัญกับการค้าขายมากกว่าสิ่งอื่น และย่อมจะคิด

                   แต่เรื่องผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม การศึกษาในรัฐ
                   ที่สามารถเป็นได้นี้ก็คล้ายกับ รัฐในอุดมคติ คือการศึกษาเป็นเรื่องบังคับ วิชาหลัก
                   คือดนตรี พลศึกษา วรรณคดี อย่างไรก็ตามเปลโตเสนอให้มี Nocturnal Council

                   ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐในตำแหน่งสูง อย่างผู้พิพากษา, พระ มาทำหน้าที่
                   ดูแลสภาและคณะผู้บริหารกิจการของรัฐ โดยคณะมนตรีพิเศษนี้ต้องมีอายุ
                   50 ปีขึ้นไป ต้องศึกษาดาราศาสตร์ เพราะเปลโตเห็นว่าเป็นศาสตร์ที่ทำให้คนเข้า

                   ใกล้และเข้าใจเทพเจ้า คณะมนตรีนี้เองที่ลึกๆ แล้วเปลโตให้มาทำหน้าที่เป็น
                   องค์อธิปัตย์ หาใช่กฎหมายดังที่เกริ่นไว้ เพราะกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยคนที่ไม่มี
                   ความสามารถในการใช้ ไม่สามารถเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติ ก็หาใช่กฎหมาย

                   ที่เป็นธรรมไม่

                         จากแนวคิดของเปลโตจะเห็นว่า เปลโตไม่เชื่อว่าคนเกิดมามีความเท่าเทียม

                   กัน เพราะแต่ละคนมีสภาพจิตที่แตกต่างกัน ความยุติธรรมในสังคมของเปลโตคือ
                   การที่ทำให้แต่ละคนทำงาน ดำเนินชีวิตตรงกับสภาพจิตที่โดดเด่นของแต่ละคน
                   เมื่อแต่ละคนทำงาน ปฏิบัติหน้าที่ของตนในสังคมได้อย่างเหมาะสม สังคม

                   จะเจริญ สภาพที่สังคมเจริญและทุกคนมีความสุขต่างหากคือการแสดงถึงความ
                   ยุติธรรม เปลโตเห็นว่าถ้าให้คนทำงานไม่เหมาะสมกับสภาพจิตของตนเอง





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   358   359   360   361   362   363   364   365   366   367   368