Page 364 - kpi18886
P. 364
356
เอาคนที่ไม่ได้มีปัญญาโดดเด่นมาเป็นผู้ปกครอง ย่อมนำพาความวุ่นวายมาสู่สังคม
ทำให้คนทั้งหลายเดือดร้อน สภาพเช่นนี้จึงเรียกว่าความยุติธรรมไม่ได้ ดังนั้น
เปลโตจึงเชื่อมั่นในศักยภาพของคน คนที่มีความเฉลียวฉลาด ที่มีความสามารถ
ในการเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติเท่านั้นที่เหมาะสมจะเป็นผู้ปกครอง สร้างความ
เจริญให้รัฐ สร้างความเป็นธรรมให้แก่พลเมืองได้
เสรีภาพที่จำกัดด้วยกฎหมายตามแนวคิดของ อริสโตเติล (Aristotle)
อริสโตเติล เป็นลูกศิษย์ของเปลโต มีชีวิตอยู่ราว 384-322 ปี
ก่อนคริสตกาล ได้ทำการศึกษาถึงระบบการเมือง ระบบกฎหมายต่างๆ และ
เขียนตำราไว้มาก มีบางอย่างสอดคล้อง บางอย่างแย้งกับอาจารย์ของเขา
อริสโตเติลเป็นชาวเมืองมาเซโดเนีย เกิดในครอบครัวชนชั้นสูง พ่อของอริสโตเติล
เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก เมื่ออายุได้ 18 ปี ได้มาศึกษาที่สถาบัน Academy
ของเปลโตที่เอเธนส์เป็นลูกศิษย์ที่มีความสามารถโดดเด่น ได้รับการยกย่องจาก
เปลโต เมื่อเปลโตเสียชีวิตลง อริสโตเติลก็ได้รับหน้าที่ไปเป็นครูสอนให้กับ
เจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย ต่อมาเจ้าชายพระองค์นี้ขึ้นเสวยราชสมบัติ
และทรงขยายอำนาจไปทั่วจนได้รับพระนามว่าอเล็กซานเดอร์มหาราช อริสโตเติล
ได้รับพระราชทานเงินทุนไปเปิดสำนักของตัวเองชื่อ Lyceum ที่แคว้นสตากิรา
ผลงานสำคัญในทางการเมืองของอริสโตเติลคือ รัฐธรรมนูญเอเธนส์และการเมือง
(Politics) อริสโตเติลได้รับการยกย่องให้เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรก และได้ก่อ
กำเนิดวิชาการเมืองเปรียบเทียบ (Comparative Politics) ขึ้นมาเพราะเป็นผู้ที่
ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของรัฐธรรมนูญและการปกครองในรัฐต่างๆ
อริสโตเติลเชื่อว่าสรรพสิ่งมีธรรมชาติของตัวมันเอง สรรพสิ่งต้องมีแบบหนึ่ง
แบบใดเป็นแบบเฉพาะตัว ทุกสิ่งจะต้องมีสภาวะที่พัฒนาคลี่คลายจนเห็นแบบ
สมบูรณ์ของตัวมันเอง เป็นพัฒนาการสูงสุด เมื่อสรรพสิ่งใดๆ พัฒนาไปจนถึง
ขีดสุดของตัวมันเองแล้วแสดงว่าบรรลุวัตถุประสงค์ จุดหมายปลายทางที่มันเกิดมา
อริสโตเติลเชื่อว่าสรรพสิ่งมีจุดหมาย มีเหตุผลที่เกิดขึ้นมาไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์
(Thelos) ดังนั้นมนุษย์จึงเกิดมาเพื่อบรรลุความสมบูรณ์แบบ ความดีสูงสุด
ธรรมชาติในตัวเอง มนุษย์มิได้สามารถแบ่งเป็นสามพวกตามลักษณะจิตดังที่
เปลโต ผู้เป็นอาจารย์คิด แต่มนุษย์มีความหลากหลายตามแต่ธรรมชาติของแต่ละคน
บทความที่ผานการพิจารณา