Page 365 - kpi18886
P. 365

357




                   ทั้งนี้ การที่มนุษย์จะคลี่คลายไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงได้ต้องมีเงื่อนไขพิเศษต้องอยู่

                   ในบริบทที่เหมาะสมเท่านั้น อริสโตเติลเห็นว่ามนุษย์จะพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมาย
                   ความดีสูงสุดในตัวตนได้ก็ต้องอยู่ในเมืองเท่านั้น รัฐจึงถือกำเนิดขึ้นมาจาก
                   ความพยายามของคนที่จะหาสิ่งต่างๆ มาตอบสนองความต้องการในทุกๆ ด้าน

                   รวมทั้งด้านศีลธรรม รัฐจึงเปรียบเสมือนแหล่งพำนักตามธรรมชาติที่คนมุ่งหวังที่
                   จะพบกับชีวิตที่สมบูรณ์ รัฐคือจุดจบของการพัฒนาจากแต่ละปัจเจกบุคคลมาเป็น
                   ครอบครัว เป็นชุมชน สังคม เป็นรัฐ สิ่งที่ว่านี้เป็นกระบวนการธรรมชาติ การที่

                   มนุษย์สามารถพึ่งพาตนเอง รู้จักตัวตนและนำมาแสดงออก จะช่วยพัฒนามนุษย์
                   ให้เข้าถึงธรรมชาติของตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในรัฐ อริสโตเติล
                   เห็นว่ารัฐเป็นสิ่งประเสริฐสุดที่มนุษย์พึงจะเข้าถึงได้ในโลกนี้ คนกับรัฐเป็นสิ่งที่

                   แยกกันไม่ออก เพราะทั้งคนและรัฐต่างก็ต้องมีการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ของ
                   ตัวเอง คนแต่ละคนจะมีวิถีชีวิตที่ดีได้เมื่ออยู่ในรัฐ รัฐจะดีได้ก็เมื่อคนที่อยู่ในรัฐ
                   เป็นคนมีชีวิตที่ดี อริสโตเติลเชื่อว่าธรรมชาติกำหนดให้บางคนเกิดมาเพื่อที่จะเป็น

                   นาย บางคนเกิดมาเพื่อที่จะเป็นบ่าว เป็นทาส สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความอยุติธรรม
                   การที่คนคนหนึ่งเป็นผู้ปกครองก็เพราะเขามีสติปัญญา คุณสมบัติแห่งการเป็น
                   ผู้ปกครอง รัฐจะได้ประโยชน์จากคนคนนี้จากปัญญา คนที่ด้อยปัญญารู้จักใช้แต่

                   แรงงานก็ให้ประโยชน์แก่รัฐทางแรงงาน คนย่อมถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ต่างๆ กัน
                   ได้สุดแต่คุณค่าในแต่ละคน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความยุติธรรม ในขณะเดียวกัน
                   ทุกคนในทางกฎหมายย่อมได้รับการปฏิบัติโดยทัดเทียมกัน แต่ละคนอาจจะมี

                   สถานะทางสังคมต่างกัน แต่เมื่ออยู่หน้ากฎหมายแล้วทุกคนเสมอภาคกันหมด
                   อริสโตเติลเชื่อในการปกครองโดยกฎหมาย กฎหมายเป็นสิ่งที่บันดาลความ
                   ยุติธรรมและสร้างสันติสุขให้รัฐ


                         แต่รัฐในอุดมคติเกิดได้ยาก เพราะไม่สามารถที่จะหาคนดีที่ดีอย่างโดดเด่น
                   แท้จริงมาปกครองได้อริสโตเติลจึงไม่สนใจมากนักในการสร้างรัฐในอุดมคติ แต่

                   เน้นไปในทางคิดถึงรูปแบบการปกครองที่สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้หรือประยุกต์รัฐ
                   (Practical State) อริสโตเติลได้ทำการศึกษารูปแบบการปกครองในนครรัฐต่างๆ
                   สมัยนั้นและเห็นว่ารูปแบบการปกครองที่มีอยู่นั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภท

                   ใหญ่คือการปกครองเพื่อประชาชนและแบบที่ปกครองเพื่อชนชั้นตนเอง
                   การปกครองแบบที่ปกครองเพื่อชนชั้นตัวเองนี้แบ่งเป็นระบอบทรราชย์ที่มี





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369   370