Page 418 - kpi18886
P. 418

410




                     แนวคิดความเรียบง่าย คือ การทำให้ทุกขั้นตอนของการบริการเกิดความ

               สำเร็จอย่างเร็วที่สุด ดังนั้นการสื่อสารจาก อบต.จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการสื่อสาร
               ด้วยวาจา และการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ความเรียบง่ายของการให้บริการ
               จะทำให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของ อบต.ได้ เพราะ

               ไม่ต้องกังวลว่าจะทำถูกหรือผิด บุคลากรทุกคนยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ
               พร้อมทั้งพัฒนาตนเองและองค์กรให้เป็นพื้นที่สำหรับประชาชน ซึ่ง อบต. ได้จัด
               มุมอ่านหนังสือพิมพ์ และมุมให้บริการอินเตอร์เน็ตชุมชน เมื่อมีประชาชนเข้ามาที่

               อบต.มากขึ้น


                     สิ่งสำคัญต่อมาที่บุคลากรที่นี่เรียนรู้ร่วมกัน คือ ความสามัคคีในองค์กร
               เพราะการทำงานร่วมกันโดยมีประชาชนเป็นผู้จับตามองอยู่ หากมีเรื่องขัดแย้งกัน
               จะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ดังนั้นความสามัคคีจึงสำคัญมากในการปฏิบัติงาน
               ร่วมกัน รวมทั้งความตรงต่อเวลาในการทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญมากเช่นเดียวกัน

               นายก อบต. ได้ให้ความเห็นว่า เมื่อถึงเวลาเริ่มงาน จะมีผู้รอรับบริการมาก่อนเรา
               เสมอ ถ้าเราไม่มีความพร้อมในการบริการประชาชนก็จะส่งผลเสียต่อประชาชน
               ด้วย เพราะบางคนเดินทางมาไกล จะให้มานั่งรอการทำงานของเรา เค้าก็จะ

               ลำบากมากขึ้น


                     สำหรับการพัฒนาองค์กรและบุคลากร จากการสัมภาษณ์ปลัด อบต. สรุป
               ได้ว่า เรื่องของการพัฒนาบุคลากรมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้องค์กรทำงานได้มี
               ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทางปลัดใช้วิธีการทำงานเหมือนองค์กรเอกชน คือ
               ให้ความสำคัญที่ทรัพยากรบุคคลก่อน เพราะการพัฒนาคนให้ดีได้แล้ว คนนั้น

               จะสามารถนำความรู้ที่มีอยู่ในตนเอง มาพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการ
               เรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน


               ผลการศึกษาเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็น
               องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3


                     คณะผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็น
               องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนนั้น โดยผ่านการวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน

               ทั้งหมด 7 ท่าน จากหลากหลาย ภาคส่วน ได้แก่ ผู้มีประสบการณ์ในการบริหาร
               และการทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1 ท่าน นักวิชาการด้าน



                    บทความที่ผานการพิจารณา
   413   414   415   416   417   418   419   420   421   422   423