Page 417 - kpi18886
P. 417
409
อบต.บ้านหม้อต้องวางแผนนโยบายในการบริหารจัดการด้วยโครงการพัฒนา
ศักยภาพเครือข่ายน่าอยู่วิถีกึ่งเมืองกึ่งชนบท ซึ่งวิธีการลงพื้นที่อย่างใกล้ชิด เข้าถึง
ทุกซอยทุกหลังคาเรือนของนายก อบต.บ้านหม้อ ทำให้เกิดความน่าสนใจในการ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของ อบต.
ในทุก ๆ เวลาเย็น นายก อบต. จะชักชวนเจ้าหน้าที่ในองค์กรไปพบปะกับ
ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อศึกษาสภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีแนวคิดว่า ลูกหลาน
ในชุมชนต้องรักบ้านตนเอง ในฐานะที่ท่านเป็นคนในชุมชนนี้มาตั้งแต่เกิด
จึงต้องการพัฒนาชุมชนให้เจริญไปด้วย แต่ถ้าคนเขตชุมชนไม่ช่วยเหลือ ไม่ให้
ความร่วมมือ การพัฒนาก็ไม่อาจประสบความสำเร็จได้ ท่านจึงใช้การพบปะคน
ในชุมชนทุกๆ เย็น เพื่อศึกษาทุกเรื่องอย่างละเอียด เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์
ระหว่าง อบต. และชุมชน ซึ่งผลที่ได้รับนอกเหนือจากการแก้ปัญหาของชุมชน
ได้ตรงจุด เพราะได้ลงพื้นที่สำรวจปัญหาเอง ยังทำให้ได้พบแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
ในเขตพื้นที่ด้วย เนื่องจากดั้งเดิมพื้นที่มีภูมิปัญญาด้านการทำขนม การทำเกษตร
จึงทำให้ อบต. ได้จัดทำและเผยแพร่แหล่งเรียนรู้จนเป็นที่ศึกษาดูงานของบุคคล
ภายนอกมากมาย ซึ่งปัจจุบันแหล่งเรียนรู้ภายในพื้นที่ทั้งหมด อบต.เป็น
ผู้สนับสนุน ประสานงานกับบุคคลภายนอกเท่านั้น ส่วนด้านการจัดการในแต่ละ
แหล่งเรียนรู้ อบต. ได้ฝึกให้ปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละแห่งให้สามารถบริหารจัดการ
ได้ด้วยตนเอง
สรุปได้ว่า การเรียนรู้ของ อบต.บ้านหม้อ มีการปรับเปลี่ยนให้ทั้งชุมชนเป็น
องค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ได้เน้นเฉพาะในองค์กรตนเองเท่านั้น หากแต่มี
การถ่ายทอดให้ทั้งชุมชนสามารถเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนได้ร่วมกัน
โดยใช้มิติการทำงานร่วมระหว่าง อบต. และชุมชน
อบต.ม่วงสามสิบ กับความเรียบง่ายในการให้บริการ
จากการศึกษาภาคสนาม คณะผู้วิจัยพบว่า การเรียนรู้ของ อบต.
ม่วงสามสิบ คือ การทำทุกอย่างให้เรียบง่าย เนื่องจากพื้นที่ของ อบต.ม่วงสามสิบ
มีลักษณะเป็นชุมชนชนบท มีการกระจุกตัวของชุมชนไม่มาก บางหลังคาเรือน
อยู่ไกลจาก อบต.มาก เดินทางไม่ค่อยสะดวก ดังนั้น การให้บริการในรูปแบบนี้
จึงต้องลดขั้นตอน ลดเวลา เพื่อให้ผู้มาติดต่อกับ อบต. สะดวกมากที่สุด
บทความที่ผานการพิจารณา