Page 416 - kpi18886
P. 416
408
จากการศึกษาเชิงลึก อบต.ดอนแก้ว พบว่า การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของ
อบต.ดอนแก้ว คือ การมีธรรมาภิบาล ซึ่งการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นจากการเห็นพ้อง
ต้องกันของผู้บริหารทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเมืองที่มีนายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลเป็นผู้นำ และฝ่ายข้าราชการที่มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้นำ
ผู้บริหารทั้ง 2 ท่านมีแนวคิดที่ตรงกันในเรื่องของ “ความโปร่งใส” เพื่อขจัด
การคอร์รัปชันในองค์กร จึงมีการแสดงเจตจำนงค์เด่นชัดในเรื่องนี้ เมื่อผู้นำเป็นแบบ
อย่างที่ดี ในการปฏิบัติ ผู้น้อยจึงปฏิบัติตาม และส่งผลให้การปฏิบัติงานของ
องค์กรเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินจากหลายแห่ง จากการสัมภาษณ์ปลัด อบต.
ท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่า อบต.ดอนแก้วไม่ได้ใช้เกณฑ์การตัดสินรางวัลใดๆ
มาเป็นบรรทัดฐานในการทำงานเพื่อให้เข้าเกณฑ์ แต่ทาง อบต.ดอนแก้วใช้การ
ปฏิบัติจริงตามแนวคิดธรรมาภิบาล จึงทำให้ไม่ว่าจะมีเกณฑ์ใดๆ มาประเมิน
ก็จะสามารถผ่านการประเมินได้ทั้งหมด ซึ่งถือว่าการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
สม่ำเสมอ และการที่ผู้นำทำให้เป็นแบบอย่างสามารถนำพาให้ อบต.ดอนแก้ว
กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนได้
นอกจากนั้น อบต.ดอนแก้ว ยังเห็นความสำคัญของการกระจายความรู้สู่
ชุมชน เนื่องจากภารกิจหน้าที่ขององค์กรส่วนท้องถิ่นคือการให้บริการประชาชน
ในพื้นที่ ดังนั้น อบต.ดอนแก้วจึงจัดหลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็น
“มหาวิชชาลัยดอนแก้วสร้างสุข” เพื่อเป็นแหล่งบริการความรู้ทั้งสำหรับคนในพื้นที่
เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุ โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น และเป็นแหล่ง
บริการความรู้สำหรับหน่วยงานอื่น เพื่อเข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆ ทั้งที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์กร และการจัดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนอีกด้วย ซึ่ง
การพัฒนาองค์กรของ อบต.ดอนแก้ว ถือว่าเป็นการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม และ
ก่อให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
อบต.บ้านหม้อ กับเทคนิคการเรียนรู้แบบ “เข้าถึงตัว”
เนื่องจากพื้นที่ของ อบต.บ้านหม้อ มีความแตกต่างของผู้อยู่อาศัยมาก คือ
มีทั้งเขตชุมชนเมือง ที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น และเขตชุมชนชนบท ที่มีผู้อยู่อาศัย
ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำให้การบริหารจัดการทั้งสองเขตจะใช้รูปแบบเดียวกัน
ไม่ได้ เพราะชุมชนเขตเมืองไม่ค่อยให้ความสนใจกับการทำงานของ อบต. แต่ใน
ขณะเดียวกันชุมชนเขตชนบทจะเข้าหา อบต.ตลอด สิ่งนี้เองจึงเป็นที่มาทำให้
บทความที่ผานการพิจารณา