Page 479 - kpi18886
P. 479
471
ได้มอบอำนาจบางส่วนเพื่อดำเนินภารกิจในการดูแล และให้บริการแก่ประชาชน
ในพื้นที่ต่างๆ ที่ห่างไกลออกไปแทนรัฐบาล (ส่วนกลาง) ผ่านทางกลไกตัวบุคคล
ซึ่งเป็นข้าราชการที่แต่งตั้งไปจากส่วนกลาง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ
รวมทั้งข้าราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดส่วนราชการต่างๆ ตลอดจน กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ซึ่งแม้มิได้แต่งตั้งมาจากส่วนกลางเนื่องจาก เป็นระบบที่มาจาก
การเลือกของประชาชนในท้องที่ แต่ก็มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำหน้าที่
ในการใช้อำนาจรัฐเพื่อดูแลทุกข์สุขของประชาชนแทนรัฐบาล และอยู่ภายใต้
การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ (ในฐานะรัฐ) โดยตรง
และถือเป็นกลไกของรัฐในระดับย่อยที่สุด และที่สำคัญคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวแทนของรัฐ และเป็นตัวแทนของประชาชนในเวลาเดียวกัน
(กรมการปกครอง, 2549)
ดังนั้นจากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นกลไก
สำคัญของราชการ ในการประสาน รวมทั้งการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงาน
ของรัฐด้วย เพื่อเป็นไปตามกฎหมายและเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องที่นั้นๆ
3. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
การจัดระเบียบการปกครองตามหลักการกระจายอำนาจ
(Decentralization) ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ โดยรัฐบาล
กระจายภารกิจ และอำนาจหน้าที่บางส่วนไปให้ท้องถิ่นที่มีศักยภาพ และ
ความพร้อมเพียงพอ รวมทั้งมีรายได้ งบประมาณ บุคลากร และทรัพยากร
ทางการบริหารเป็นของตนเอง ได้มีอิสระในการบริหารงานท้องถิ่น และมีอำนาจ
หน้าที่ตามภารกิจที่รัฐกำหนด ได้แก่ การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และการให้
บริการสาธารณะต่างๆ แก่ประชาชน ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78 ที่บัญญัติว่า รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น
พึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และ
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
ในท้องถิ่น ให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความ
พร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ (กรมการปกครอง, 2549)
โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้นแม้ว่าองค์กรปกครอง
บทความที่ผานการพิจารณา