Page 483 - kpi18886
P. 483
475
คนในท้องที่ วัฒนธรรมชุมชน รวมถึงระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่ยาวนาน
ความใกล้ชิดที่ทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ก่อให้เกิดอิทธิพลในการจูงใจให้
คนพื้นที่คล้อยตามได้มากกว่า ทำให้สามารถดำเนินงานกับชาวบ้านได้ดีกว่า
ข้าราชการในส่วนภูมิภาค
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแม้ว่ารัฐจะเริ่มเห็นความสำคัญของการกระจาย
อำนาจ เพราะเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย คือต้องการให้ประชาชนปกครอง
กันเอง แต่พอมีการปรับโครงสร้างจริงก็มีการปรับแบบรักพี่เสียดายน้อง ไม่เลือกว่า
จะให้โครงสร้างของประเทศเป็นอย่างไร จนมีการนำองค์การบริหารส่วนตำบล
เข้ามามีบทบาทในพระราชบัญญัติปี 2537 ก็บอกว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะค่อยๆ
หมดไปเองแต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้มีการลดบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ลงเลย (บทสัมภาษณ์ อัษฎางค์ ปาณิกบุตร, รามคำแหง, 31 ตุลาคม 2555,
ออนไลน์) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังคงอยู่ได้หลังจากการกระจายอำนาจมากว่า
สองทศวรรษโดยที่ไม่มีกฎหมายฉบับใดปรับลดบทบาท และจำนวนของกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านลงเลย การคงอยู่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในบริบทของการกระจายอำนาจ
สู่ท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะมีนโยบายการกระจายอำนาจไปสู่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ในด้านกฎหมายนั้นถึงแม้จะมีการกระจายอำนาจสู่
ท้องถิ่นและมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหลายครั้ง แต่ไม่ได้
ทำบทบาท และอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านลดลงแต่อย่างใด (ไททัศน์
มาลา, 2559, น. 305)
ซึ่งจากการสัมภาษณ์ปลัดอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้
ว่า “รัฐเองไม่สามารถดำเนินการอะไรได้อย่างคล่องตัว หากปราศจากคนที่จะคอย
ประสานงานให้ เพราะไม่ได้เข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ไม่ได้มีความเข้าใจ
วัฒนธรรมชุมชน ทำให้การทำงานของรัฐเป็นไปด้วยความยากลำบาก หากไม่ได้
รับความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน และชาวบ้านบางส่วนไม่เปิดใจ
ยอมรับการทำงานของเจ้าหน้าที่ ยังให้ความเคารพยำเกรงในตัวกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
มากกว่ารัฐ มองว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขของพวกเค้า”
(ธิติวัฒน์ เอี่ยมสะอาด, สัมภาษณ์, 30 มี.ค. 2560) นอกจากนี้กำนัน
ผู้ใหญ่บ้านยังมีบทบาทและหน้าที่ที่ต้องจัดการตั้งแต่เรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนถึง
เรื่องการจัดการทรัพย์สินมรดกอยู่ ชาวบ้านก็ต้องอาศัยการช่วยจากกำนัน
บทความที่ผานการพิจารณา