Page 515 - kpi18886
P. 515
507
(Colombia’s Constitution of 1991 with Amendments through 2005,
2017) มาตรา 40 (3) กล่าวถึง “...สิทธิในการร่วมก่อตั้ง บริหาร และควบคุม
อำนาจทางการเมือง เพื่อให้การกระทำสามารถทำได้โดยมีประสิทธิภาพ พลเมือง
อาจกระทำโดยก่อตั้งพรรคการเมือง ขบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มทาง
การเมือง โดยไม่ถูกจำกัด การมีส่วนร่วมดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเสรีและแตกต่าง
หลากหลายด้วยความคิดและนโยบาย...” และมาตรา 107 ที่ว่า “พลเมืองทุกคน
ได้รับการรับรองสิทธิในการก่อตั้ง จัดองค์การ และสนับสนุนพรรคการเมืองและ
ขบวนการทางการเมือง (parties and political movements) และมีเสรีภาพ
ในการเข้าร่วมหรือปฏิเสธในการเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว...” ต่างสะท้อนให้เห็นถึง
ความสำคัญของการจัดการปกครองอย่างมีส่วนร่วมที่ไม่ได้จำกัดแค่พรรคการเมือง
แต่รวมไปถึงขบวนการทางการเมืองอื่นๆ สามารถเข้ามามีบทบาททางการเมือง
ในเชิงสถาบันได้ ประกอบกับมาตรา 171 และ 176 ได้วางระบบเลือกตั้งแบบ
สัดส่วน (proportional representation: PR) ที่ใช้ในการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติ
ทั้งสภาล่างและสภาสูง ทำให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคเข้ามาร่วม
แบ่งปันอำนาจรัฐ
ดังนั้น ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปของโคลัมเบียจึงเกิดขึ้นทั้งจากรัฐบาล
ที่พยายามสร้างกระบวนการสันติภาพและขบวนการทางสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วม
กันการจัดการปกครองผ่านรัฐธรรมนูญฉบับปี 1991 แม้ว่าหลังจากการปฏิรูป
ดังกล่าวจะมีเหตุความรุนแรงและการปะทะกันระหว่างกลุ่มทางการเมืองกับ
รัฐบาล แต่กลไกเชิงสถาบันจากยุทธศาสตร์แบบสันติภาพและรัฐธรรมนูญแบบ
แบ่งปันอาจทำให้โคลัมเบียสามารถรักษาประชาธิปไตยได้จนถึงปัจจุบัน
3.2 มอลโดวา: ประชาธิปไตยใหม่ กับการมุ่งสู่พหุนิยมทางการเมือง
มอลโดวาเป็นประเทศเกิดใหม่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี
ค.ศ. 1991 ภายใต้ขบวนการชาตินิยมที่พยายามเคลื่อนไหวแบบการเมือง
อัตลักษณ์ (identity politics) ว่า ตนไม่ได้มีอัตลักษณ์เป็นชาวโรมาเนียและ
ชาวรัสเซีย หากสร้างมีอัตลักษณ์แบบชาวมอลโดวา และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ
สหประชาชาติในปี ค.ศ. 1992 ท่ามกลางการต่อสู้กันในบริเวณที่เรียกว่า Trans-
Dniester ทำให้รัฐต้องประกาศสภาวะฉุกเฉิน ซึ่งในการสู้รบกันครั้งนั้นก็ทำให้มี
บทความที่ผานการพิจารณา