Page 516 - kpi18886
P. 516

508




               ผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และได้มีกองกำลังรักษาสันติภาพจากรัสเซียในเข้ามา

               ควบคุมสถานการณ์หลังจากนั้น ในปี ค.ศ.1993 ได้มีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงิน
               จากรูเบิลมาเป็นสกุล Leu ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
               โดยให้ดินแดน Trans-Dniester และ Gagauz เป็นเขตปกครองตนเองและ

               ได้ประกาศให้ภาษามอลโดวาเป็นภาษาราชการ (BBC, 2017)

                     ความพยายามในการปฏิรูปประเทศครั้งแรกของมอลโดวาเกิดขึ้นเมื่อปี

               1992 ภายหลังจากการประกาศอิสรภาพ โดยมีความพยายามในการปฏิรูปทั้งใน
               ด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยกระบวนการปฏิรูปแสดงออกมาให้เห็นอย่าง

               ชัดเจนในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดยสามารถจัดการเลือกตั้งใหญ่ที่เสรีได้หลายครั้ง
               ในขณะที่ด้านเศรษฐกิจกลับประสบปัญหาไม่สามารถขยายพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก
               มีเพียงบริเวณ Trans-Dniester เป็นส่วนใหญ่ที่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก
               ในขณะที่ GDP ของประเทศยังตั้งอยู่บนฐานของสินค้าเกษตร ในช่วง

               ปลายทศวรรษที่ 1990 ได้เกิดวิกฤติปัญหาการเมืองภายในและส่งผลให้เกิด
               การชะงักงันของกระบวนการปฏิรูปโดยปัญหาในครั้งนี้ได้ส่งผลให้พรรค
               คอมมิวนิสต์กลับมาครองอำนาจได้อีกครั้ง


                     จากปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศมอลโดวาต้องวางยุทธศาสตร์ชาติ

               ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ จนสำเร็จออกมาเป็นรัฐธรรมนูญในปี 1994 ประกาศใช้
               เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ปี 1994 มีจุดมุ่งหมายที่ปรากฎในคำปรารภคือ
               ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้นการพัฒนา
               ร่างรัฐธรรมนูญจึงเป็นการร่างเพื่อสร้างขอบเขตของกฎหมายที่ชัดเจนเพื่อพัฒนา

               ไปสู่หลักนิติรัฐและประชาธิปไตย โดยคำนึงถึงอำนาจอธิปไตย ความเป็นเอกราช
               ความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นของรัฐ ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
               โดยรัฐธรรมนูญต้องเป็นอำนาจที่อิสระ และเป็นตัวแทนของคนในประเทศ

               อย่างแท้จริง


                     ด้วยเหตุนี้ แม้ว่ามอลโดวาจะเป็นประเทศขนาดเล็กและยากจนที่สุดในยุโรป
               แต่ยุทธศาสตร์ชาติของมอลโดวาพยายามเดินไปในทางของ “พหุนิยมทาง
               การเมือง” (political pluralism) เห็นได้จากการเลือกตั้งตามมาตรา 60-61
               ไว้วางระบบเลือกตั้งเป็นแบบสัดส่วน (PR) เพื่อให้เกิดพรรคการเมืองที่หลากหลาย





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   511   512   513   514   515   516   517   518   519   520   521