Page 534 - kpi18886
P. 534

526




                     ประเทศไทยมีหน่วยงานและองค์กรจำนวนมากที่ให้ความสำคัญในการ

               พัฒนาพลเมืองของชาติด้วยการจัดการศึกษา แต่ก็พบว่า ต่างมีแนวคิดและ
               เป้าหมายโดยเฉพาะภาพของพลเมืองแตกต่างกันไปทำให้การทำงานยังขาด
               เอกภาพ แนวทางหนึ่งที่ช่วยให้การพัฒนาความเป็นพลเมืองมีพลังมากขึ้นก็คือ

               การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม โดยมีเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน
               ร่วมกัน จึงเป็นที่มาของการพัฒนา “กรอบแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้าง
               ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย” ของศูนย์ประสานงานเครือข่าย

               การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตยขึ้น (เฉลิมชัย พันธ์เลิศ และคณะ,
               2556, น. 3-5) อย่างไรก็ตามกรอบแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้าง
               ความเป็นพลเมืองดังกล่าว เป็นกรอบแนวคิดหลักสูตรที่เน้นความเป็นพลเมือง

               ตามระบบประชาธิปไตย ยังไม่ได้บูรณาการร่วมกับแนวทางของพระพุทธศาสนา
               ซึ่งเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่มากที่สุด


                     พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน วิถีชีวิตของชาวไทย
               ส่วนมากเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ชาวไทยร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา
               และนำหลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิต

               จนกลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม และเอกลักษณ์มรดกของชาติไทยตราบเท่า
               ทุกวันนี้ จากการศึกษาวิจัยภายใต้กรอบของพระพุทธศาสนาพบประเด็นที่น่าสนใจ
               คือ หลักการและแนวทางในการพัฒนาเมืองให้ประชาชนมีวิถีชีวิตตาม

               วิถีประชาธิปไตยนั้นสอดรับกับหลักการและแนวทางที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา
               อย่างมีนัยสำคัญ เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เน้นและให้ความสำคัญต่อ
               การพัฒนาพลเมือง ของรัฐตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าพลเมืองนั้นจะอยู่ในระบอบ

               ใดก็ตาม เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้เน้นที่ตัวระบอบ แต่เน้นพัฒนาคนที่อยู่ใน
               ระบอบ ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นฐานสำคัญในการนำมาเป็นแนวทางใน
               การพัฒนาพลเมืองให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมทุกระบอบ

               การปกครองได้ (พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2559) ดังนั้นสังคมไทยจึงควร
               พัฒนาพลเมืองโดยยึดโยงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1) การเป็นคนดี
               บนฐานของหลักการทางศาสนา และ 2) การเป็นพลเมืองที่ดีตามระบอบ

               ประชาธิปไตย เข้าด้วยกันเพื่อสร้างพลเมืองที่ดีของประเทศตามแนว
               พระพุทธศาสนา





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   529   530   531   532   533   534   535   536   537   538   539