Page 537 - kpi18886
P. 537
529
- ขั้นเตรียมการ มีความสอดคล้องกับการศึกษาฐานข้อมูลที่เป็นตัวแปร
ภายนอก
- ขั้นจัดทำและวางแผนการใช้หลักสูตร มีความสอดคล้องกับการกำหนด
เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และขอบเขต และการออกแบบหลักสูตร
- ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับการใช้หลักสูตร
- ขั้นตรวจสอบผลของการใช้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับการประเมิน
ผลหลักสูตร และการให้ข้อมูลย้อนกลับ
ตอนที่ 2 แนวคิดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองคือ การจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้
ตระหนักและมั่นใจในการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย มีทักษะเกี่ยวกับความเป็น
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และเกิดทัศนคติและแรงจูงใจในการกระทำหรือ
มีพฤติกรรมที่แสดงถึงวิถีแห่งประชาธิปไตย บนหลักพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่
การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของ
สังคมที่เป็นธรรม และการรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม สำหรับประเทศ
ไทยมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต (Curriculum
Development for Future Global Citizens Conference) เพื่อนำผู้เรียนไปสู่ความ
เป็นพลเมืองโลก โดยนักวิชาการเสนอแนะแนวคิดและหลักการ ดังนี้ (ศรัณยุ
หมั้นทรัพย์, 2551, น. 26-29)
1) หลักสูตรต้องสร้างให้เด็กรุ่นใหม่มีความสามารถในการสื่อสารระดับ
สากล โดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง พร้อมที่จะเรียนรู้เข้าใจ และ
ยอมรับในศาสนา วัฒนธรรม และภาษาที่แตกต่าง มีความรับผิดชอบ
และมุ่งมั่นพัฒนาสังคมส่วนรวมในวงกว้างระดับนานาชาติโดยไม่เห็น
แก่ผลประโยชน์ของตน แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของประเทศและของ
ตนไว้
2) หลักสูตรต้องช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์
และแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีหาความรู้
บทความที่ผานการพิจารณา