Page 535 - kpi18886
P. 535

527




                         เพื่อเป็นการเตรียมพลเมืองไทยให้มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง และ

                   พัฒนาพลเมืองไทยให้เป็นพลเมืองไทยที่ดีและพลเมืองโลกที่เหมาะสมท่ามกลาง
                   กระแสโลกาภิวัตน์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนากรอบหลักสูตรที่จะ
                   พัฒนาพลเมืองไทยให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมชาวพุทธ โดยคณะผู้วิจัย

                   วางแผนการดำเนินการวิจัยเรื่อง การพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้าง
                   พลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา โดยดำเนินการวิจัยและเก็บข้อมูลจาก
                   ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 รูป/คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย และ

                   ประเมินกรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา
                   โดยครูในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาที่สามารถนำกรอบ
                   หลักสูตรไปใช้ได้จริงในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 30 รูป/คน คณะผู้วิจัย

                   หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การวิจัยและพัฒนากรอบหลักสูตรครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์
                   ครู อาจารย์ นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
                   สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้ที่สนใจทุกช่วงวัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ

                   เจตคติ ค่านิยม และลักษณะนิสัยของการเป็นพลเมืองดีตามแนวพระพุทธศาสนา
                   และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในยุคโลกาภิวัตน์และสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติ


                   วัตถุประสงค์

                         1.  เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
                   เพื่อสร้างพลเมือง


                         2.  เพื่อพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนว
                   พระพุทธศาสนา


                         3.  เพื่อประเมินกรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนว
                   พระพุทธศาสนา


                   นิยามศัพท์

                         กรอบหลักสูตร หมายถึง โครงร่างกำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติที่จะนำ

                   ไปสู่การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนิน
                   ชีวิต ให้วิชาความรู้ การถ่ายทอดวัฒนธรรม การปลูกฝังเจตคติและค่านิยม






                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   530   531   532   533   534   535   536   537   538   539   540