Page 540 - kpi18886
P. 540

532




               สร้างพลเมือง แบ่งเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคคล ได้แก่ ความเข้าใจส่วนบุคคล

               เกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตย เห็นคุณค่าในตนเอง รู้จักพึ่งตนเองและรับผิดชอบ
               ตนเอง และเห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพสุจริต และ 2) ด้านสังคม
               ได้แก่ มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล เคารพ

               หลักความเสมอภาค เคารพกฎหมาย และความรับผิดชอบต่อสังคม และมีความ
               ตระหนักและยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย ในการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
               และกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบ

               ประชาธิปไตยนั้น เป็นไปตามหลักนานาชาติสากล แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีงานวิจัย
               ที่ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโดยบูรณาการร่วมกับแนวทาง
               พระพุทธศาสนา ในฐานะที่พลเมืองไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ การพัฒนา

               กรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา จึงน่าจะเป็น
               ประโยชน์สำหรับพุทธศาสนิกชน ตลอดจนคนที่นับถือศาสนาอื่น สามารถนำไปใช้
               ร่วมกับการศึกษาทุกระบบ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและ

               การศึกษาตามอัธยาศัยได้

               ระเบียบวิธีวิจัย


                     การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
               ตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน และเก็บ
               รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร เทคนิคเดลฟายและการวิจัยเพื่อ

               ประเมิน โดยคณะผู้วิจัยกำหนดขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ ตามวัตถุประสงค์
               การวิจัย ดังนี้


                     ระยะที่ 1 ขั้นการศึกษาเอกสาร เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธ-
               ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ประชากรของการวิจัย ได้แก่
               พระไตรปิฎก ตำรา หนังสือ บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อ

               สร้างพลเมืองและพระพุทธศาสนา และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบ
               เจาะจง ผลการคัดเลือกได้กลุ่มตัวอย่างคือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมทาง
               พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง เครื่องมือที่ใช้ใน

               การวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา







                    บทความที่ผานการพิจารณา
   535   536   537   538   539   540   541   542   543   544   545