Page 541 - kpi18886
P. 541
533
ระยะที่ 2 ขั้นการสำรวจ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย เพื่อพัฒนากรอบหลักสูตร
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้จาก
การเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองและด้าน
พระพุทธศาสนา จำนวน 17 รูป/คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม
เดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ระยะที่ 3 ขั้นการประเมินกรอบหลักสูตร เป็นการแจกร่างกรอบหลักสูตร
และแบบประเมินให้แก่ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อประเมิน
กรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ผู้ให้ข้อมูล
สำคัญที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ ครูในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและ
ชั้นมัธยมศึกษา ที่มีแนวโน้มจะนำกรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตาม
แนวพระพุทธศาสนาไปใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอน จำนวน 30 รูป/คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินกรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้าง
พลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิง
บรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยของการวิจัยเรื่อง การพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้าง
พลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการ
ศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง พบว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ได้แก่ สุจริต 3 สิกขา 3 อธิปไตย 3 พรหมวิหาร 4
สังคหวัตถุ 4 พละ 4 อธิษฐานธรรม 4 อริยสัจ 4 อิทธิบาท 4
เวสารัชชกรณธรรม 5 เบญจศีล เบญจธรรม สารณียธรรม 6 สัปปุริสธรรม 7
อปริหาณิยธรรม 7 มรรคมีองค์ 8 กุศลกรรมบถ 10 และ นาถกรณธรรม 10
2. ผลการพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนว
พระพุทธศาสนา พบว่ากรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนว
พระพุทธศาสนา โดยแบ่งเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดพื้นฐาน
บทความที่ผานการพิจารณา