Page 552 - kpi18886
P. 552
544
องค์ประกอบที่ 5 การวัดและการประเมินผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ได้แก่ หลักการวัดและการประเมินผล 5 ประการ และกิจกรรมการวัดและ
การประเมินผล 8 วิธี สอดคล้องกับขั้นตรวจสอบผลของการใช้หลักสูตร ทั้งนี้
เมื่อวิเคราะห์แล้วได้ค่าความสอดคล้องสูง ซึ่งถือว่าสามารถนำไปใช้เป็นกรอบ
หลักสูตรได้
3. จากผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 3 ได้ผลการประเมินกรอบ
หลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ได้มีการนำ
กรอบหลักสูตรให้ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 30 รูป/คน
ประเมินใน 6 ประเด็น คือ 1) ความถูกต้องตามหลักการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
2) ความถูกต้องตามแนวทางพระพุทธศาสนา 3) ความเหมาะสมในการนำไปใช้
จัดการเรียนการสอนกับทุกช่วงวัย 4) ความเป็นไปได้ในการนำกรอบหลักสูตร
ไปใช้จริง 5) ข้อเสนอแนะด้านจุดเด่น และ 6) ข้อเสนอแนะด้านจุดที่ควรพัฒนา
การประเมินกรอบหลักสูตรนี้ มีความสอดคล้องกับแนวคิดของ วิชัย
วงษ์ใหญ่ ที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร คือ 1) การประเมินเพื่อ
หาคุณค่าของหลักสูตร ตรงตามประเด็นการประเมินความถูกต้องตามหลักการ
ศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง และความถูกต้องตามแนวทางพระพุทธศาสนา 2) การ
ประเมินรูปแบบระบบของหลักสูตร ตรงตามประเด็นความเหมาะสมในการนำไป
ใช้จัดการเรียนการสอนกับทุกช่วงวัย และความเป็นไปได้ในการนำกรอบหลักสูตร
ไปใช้จริง และ 3) การประเมินเพื่อตรวจสอบย้อนกลับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ตรงตามประเด็นการให้ข้อเสนอแนะด้านจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1. การพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนว
พระพุทธศาสนาจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าครู อาจารย์ ผู้สอนสามารถนำไปใช้
จริงและประเมินหลักสูตรหลังจากการนำไปใช้จริง ทั้งนี้ครู อาจารย์ ผู้สอนที่สนใจ
สามารถนำกรอบหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริงได้
โดยอาจนำไปบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งในวิชาเรียนปกติ หรือการจัดการเรียน
บทความที่ผานการพิจารณา