Page 550 - kpi18886
P. 550

542




               หลักธรรม 18 ประการ ได้แก่ สุจริต 3 สิกขา 3 อธิปไตย 3 พรหมวิหาร 4

               สังคหวัตถุ 4 พละ 4 อธิษฐานธรรม 4 อริยสัจ 4 อิทธิบาท 4
               เวสารัชชกรณธรรม 5 เบญจศีล เบญจธรรม สารณียธรรม 6 สัปปุริสธรรม 7
               อปริหาณิยธรรม 7 มรรคมีองค์ 8 กุศลกรรมบถ 10 และ นาถกรณธรรม 10

               หลักธรรมดังกล่าวข้างต้นเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและ
               การใช้เทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 รูป/คน ผลจากการศึกษา
               เอกสารพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) อธิบายแนวคิด

               เกี่ยวกับการสร้างมนุษย์ให้เป็นคนดีไว้ว่า การสร้างมนุษย์ให้เป็นคนดีมีหลักธรรม
               ที่ต้องยึดถือปฏิบัติคือ ไตรสิกขาหรือ สิกขา 3 ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และ
               ปัญญาซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ สุมน  อมรวิวัฒน์ ที่กล่าวถึงการฝึกฝนตนเอง

               ของมนุษย์ด้วยไตรสิกขา และเป็นหลักธรรมที่ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอความคิดเห็นจาก
               การทำเดลฟายด้วยว่า สิกขา 3 เป็นการควบคุมความประพฤติให้ปฏิบัติตาม
               กฎระเบียบ โดยมีปัญญาเป็นเครื่องกำกับ


                       นอกจากนี้ เมื่อศึกษาความเกี่ยวเนื่องของแต่ละหลักธรรมพบว่า
               หลักธรรมที่ว่าด้วย มรรคมีองค์ 8 นั้น เป็นหนึ่งในทางปฏิบัติให้เกิดทางสายกลาง

               เพื่อเป็นหนทางพ้นทุกข์ตามหลักอริยสัจ 4 และเมื่อวิเคราะห์หลักไตรสิกขาตามที่
               กล่าวมาข้างต้นพบว่า หลักของศีล สมาธิ และปัญญา มีหลักธรรมที่สอดคล้องกับ
               ปัญญา ได้แก่ ปัญญาพละที่แสดงถึงกำลังทางปัญญาในพละ 4 ปัญญาที่แสดงถึง

               ความหยั่งรู้เหตุผลในอธิษฐานธรรม 4 และปัญญาที่แสดงถึงความรอบรู้ใน
               เวสารัชชกรณธรรม 5 เป็นต้น ดังนั้น จากการวิเคราะห์หลักธรรมในข้างต้นแสดง
               ให้เห็นว่า การสร้างมนุษย์ให้เป็นคนดีมีองค์ประกอบในการฝึกตนหลายประการ

               แต่มีหลักธรรมพื้นฐานคือ สิกขา 3 ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องควบคุม
               ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง


                     2.  จากผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 ได้ผลการพัฒนากรอบ
               หลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา จากการเก็บรวม
               รวบข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ทำให้ได้ขั้นตอนการพัฒนากรอบ

               หลักสูตร 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการเบื้องต้น ซึ่งเป็นการศึกษาฐาน
               ข้อมูลที่เป็นตัวแปรภายนอก 2) ขั้นจัดทำและวางแผนการใช้หลักสูตร ให้มีความ
               สอดคล้องกับการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และขอบเขต และการออกแบบ




                    บทความที่ผานการพิจารณา
   545   546   547   548   549   550   551   552   553   554   555