Page 27 - kpi20125
P. 27
ถนนเป็นอย่างมาก แต่ข้อมูลจากทั้งสองแหล่งก็แสดงให้เห็นว่าจ านวนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
ของประเทศไทยยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง
นอกจากนี้ ยังพบว่าในปี พ.ศ.2559 มีสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนอีกหลายประเด็นส าคัญ
(แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในระดับจังหวัด:สอจร., 2559) เช่น
- มีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอย่างน้อยหนึ่งคนต่อเวลาเฉลี่ยทุก 24 นาที
- อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่ากับ 34.40 รายต่อแสนประชากร
- ผู้ประสบอุบัติเหตุส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.7% หรือในสัดส่วนสามในสี่เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์
- กลุ่มช่วงวัยที่เป็นผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ ช่วงอายุ 15-24 ปี หรือเป็นสัดส่วนหนึ่งในสี่ของผู้
ประสบอุบัติเหตุทั้งหมด
- จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
(จ านวน 14.30 รายต่อแสนประชากร)
- จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดระยอง
(จ านวน 72.20 รายต่อแสนประชากร)
- จังหวัดที่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้มากที่สุด ได้แก่ จังหวัดตาก (ลดลง 17.00 ราย
ต่อแสนประชากร)
จากรายงานย้อนหลังเกี่ยวกับอัตราการเกิดอุบัติ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนแม้เพียง
ระยะเวลาย้อนหลังไปไม่นานก้ได้ท าให้เห็นว่าเกิดความสูญเสียมากมายต่อชีวิตและทรัพย์สินพียงใด ถือเป็น
ภัยคุกคามที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมทั้งระดับครอบครัวและส่งผลถึงระดับประเทศไปใน
คราวเดียวกันด้วย ยกตัวอย่างการประสบอุบัติเหตุที่หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตหรือพิการย่อมท าให้เด็ก
กลายเป็นก าพร้า ขาดผู้เลี้ยงดู ไม่สามารถศึกษาต่อในการศึกษาหรือท าอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ ก็จะท าให้
เกิดการมั่วสุมของวัยรุ่นหรือเด็กที่มีปัญหา เป็นปัญหายาเสพติด ลักขโมย อาชญากรรมตามมา เกิดผล
กระทบต่อเศรษฐกิจในระดับประเทศที่สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพที่เป็นปัจจัยหลักในการแข่งขัน
ของประเทศ ท าให้การผลิตของประเทศเป็นไปอย่างไม่เต็มที่ (คณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูป
ระบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, 2558)
2.5 นโยบายความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย
จากรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภา
ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ระบุว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา รัฐบาลได้มีนโยบายให้ความปลอดภัย
ทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ กระทรวงคมนาคมในขณะนั้นได้เริ่มให้มีการจัดท าแผนปฏิบัติการด้านความ
ปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย พ.ศ. 2547 – 2551 เพื่อรับมือกับปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่นับวันจะ
รุนแรงมากขึ้น
ต่อมาองค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมผู้บริหารระดับสูงเรื่อง “ความปลอดภัยทางถนน”
หรือ First Global Ministerial Conference on Road Safety : Time for Action ในเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ.2552 ณ กรุงมอสโคว สหพันธรัฐรัสเซีย จากการประชุมครั้งนั้นประเทศสมาชิกได้ร่วมกันประกาศ
รับรองเจตนารมณ์ปฏิญญามอสโควให้ปี พ.ศ.2552-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน เมื่อ
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2553 โดยมีเป้าหมายในการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากร
แสนคนให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2563
15