Page 28 - kpi20125
P. 28

จากเจตนารมณ์นี้ เพื่อรองรับแผนทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2555 – 2563
                 ประเทศไทยจึงได้มีการจัดท าแผนแม่บทด้านความปลอดภัยทางถนนขึ้นมา 2 ฉบับ คือ แผนแม่บทความ

                 ปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2552 – 2555 และพ.ศ.2556 – 2559 จัดท าโดยศูนย์อ านวยการความปลอดภัย
                 ทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เมื่อสิ้นสุดแผนในปี พ.ศ.2559 จึงถือได้ว่าเป็นระยะเวลา 6 ปี
                 นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ที่ประเทศไทยพยายามมุ่งสู่การลดการเสียชีวิตจาอุบัติเหตุทางถนนให้ต่ ากว่าร้อยละ
                 10 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ.2563 เพื่อให้สอดคล้องกับทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนตาม

                 เป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ เพราะปี พ.ศ.2549 อัตราเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศ
                 ไทยอยู่ที่ร้อยละ 20.21 ต่อประชากรแสนคน
                        การด าเนินงานตามแนวทาง 5 เสาหลักภายใต้กรอบทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ได้แก่
                        1) การจัดการความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Management)

                        2) ถนนและการสัญจรที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น (Safer Road and Mobility)
                        3) ยานพาหนะที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น (Safer Vehicle)
                        4) การใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น (Safer Road Use)
                        5) การดูแลหลังการเกิดเหตุ (Post-Crash Care)

                        คณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการ
                 ปฏิรูปประเทศ ได้ท าการเสนอแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2560-2564 ซึ่งมีความครอบคลุม
                 และเป็นไปตามแนวทางสากล และรวมถึงแนวทางของรัฐบาลมาใช้ ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ เรียกว่า

                 SIX SAFETY STRATEGIES และแผนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนนยั่งยืนระยะยาว 20 ปี (1
                 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2579 ส าหรับแผนแม่บทมียุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่
                        ยุทธศาสตร์ที่ 1 กฎหมายความปลอดภัยทางถนนและการบังคับใช้ (Road Safety Laws and
                 Enforcement)
                        ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Management)

                        ยุทธศาสตร์ที่ 3 ถนนปลอดภัย (Road Safety for Safer Roads)
                        ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยานพาหนะปลอดภัย (Road Safety for Safer Vehicles)
                        ยุทธศาสตร์ที่ 5 การให้การศึกษา เสริมสร้างวัฒนธรรมและพฤติกรรมด้านความปลอดภัย

                 ทางถนน (Road Safety Education, Culture and Behaviors)
                        ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินด้านความปลอดภัยทางถนน (Road Safety
                 Emergency Medical Services)
                        ส าหรับแผนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนนยั่งยืนระยะยาว มี 6 แนวทางเช่นกัน ได้แก่

                        1.ระบบศาลจราจร ให้มีการจัดตั้งศาลจราจรและก าหนดวิธีพิจารณาคดีจราจรเป็นการเฉพาะเพื่อ
                 ด าเนินคดีเกี่ยวกับการจราจรโดยตรง มีการพิจารณาที่กระชับ รวดเร็ว
                        นอกจากนี้ ยังต้องมีการจัดท าระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่จะมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น
                 ส านักงานต ารวจแห่งชาติ กรมการขนส่งทางบก สานักงานศาลยุติธรรม เพื่อบันทึกประวัติผู้กระท าผิด

                 กฎหมายจราจร
                        2.การจัดตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางถนน (จปถ.) ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในทุก
                 หน่วยงาน  แบบเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จปถ.) ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนา
                 มัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน พ.ศ.2554 โดยท าหน้าที่ให้ความรู้ ตรวจสอบ ให้ค าแนะนา รายงาน

                 ข้อเท็จจริงอุบัติเหตุหรือพฤติกรรมที่อาจไม่ปลอดภัยในการเดินทางของบุคลากรในหน่วยงาน




                                                            16
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33