Page 18 - kpi20207
P. 18
การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 17
ดังนั้น กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำากฎหมายที่
ได้ถูกบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งถือ
เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นกระบวนการที่บัญญัติให้ต้องทำา
ควบคู่กับการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายจึงเป็นกระบวนการ
สำาคัญที่ควรจะได้มีการพัฒนารูปแบบ (model) ของการจัดกระบวนการ
รับฟังความคิดเห็นที่เป็นระบบ โดยมุ่งหวังให้การรับฟังความคิดเห็นเป็น
กระบวนการที่ควรจะมีขึ้นตั้งแต่กระบวนการก่อน ระหว่าง และภายหลัง
ยกร่างกฎหมาย เพื่อให้กระบวนการจัดทำากฎหมายสามารถสร้างกฎหมาย
ที่มีคุณภาพเพื่อใช้ควบคุม ดูแลความสงบสุข รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่
เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งให้กฎหมายที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
ของผู้เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายนั้นเป็น
เครื่องมือสะท้อนแนวนโยบายแห่งรัฐในการบริหารประเทศทั้งในด้าน
เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เมื่อกฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้แล้ว
หนังสือเล่มนี้เป็นผลการศึกษาจากการสำารวจองค์ความรู้และ
ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการ
จัดทำากฎหมายของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อพัฒนาเป็นชุดความรู้
สำาหรับการนำาเสนอตัวแบบกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำา
กฎหมายที่สอดคล้องกับบทบัญญัติว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นตาม
มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
หนังสือเล่มนี้แบ่งการนำาเสนอเนื้อหาออกเป็น 8 บท สองบทแรกเป็น
การนำาเสนอแนวคิดทั่วไปว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นและการปรึกษาหารือ
สาธารณะ บทที่ 1 อภิปรายความเชื่อมโยงกันระหว่างแนวคิดว่าด้วย
การรับฟังความคิดเห็นและการตัดสินใจด้วยการปรึกษาหารือสาธารณะ เพื่อ
ชี้ให้เห็นว่าการรับฟังความคิดเห็นในฐานะกระบวนการสำาคัญของการจัดทำา
01-142 PublicConsult_ok.indd 17 22/6/2562 BE 17:26