Page 19 - kpi20207
P. 19
18
กฎหมายในบริบทของประชาธิปไตยนั้น การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามา
มีส่วนร่วมเพียงแค่การร่วมรับรู้และ/หรือร่วมบอกกล่าวถึงความต้องการ
ของตนนั้นไม่เพียงพอ แต่ประชาชนจะต้องสามารถเข้ามามีบทบาทในฐานะ
ประชาชนที่มีความพร้อม มีช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการที่สะดวก และ
สามารถร่วมตัดสินใจในนโยบายและข้อกฎหมายที่มีผลกระทบทั้งต่อตนเอง
และสังคมโดยรวม ในความหมายนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ
รับฟังความคิดเห็นของประชาชนจึงไม่ใช่การเข้าร่วมในฐานะแขกรับเชิญ แต่
ต้องเป็นการเข้าร่วมในฐานะของหุ้นส่วนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย
หรือกฎหมายที่นำามาพิจารณานั้น เพื่อนำาไปสู่การตัดสินใจดำาเนินนโยบาย
สาธารณะและ/หรือออกกฎหมายที่เหมาะสม ทำาให้เกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่า
และนำาไปสู่การสร้างความเสมอภาคในสังคมได้อย่างแท้จริง
ในบทที่ 2 ประเด็นสำาคัญดังกล่าวจะได้รับการขยายความผ่าน
การทำาความเข้าใจโดยสังเขปเกี่ยวกับกระบวนการและรูปแบบการจัดการ
รับฟังความคิดเห็นในการจัดทำากฎหมายภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือ
สาธารณะตามแนวทางขององค์กรเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ
(Organization for Economic Cooperation Development: OECD)
ซึ่งกำาหนดให้การรับฟังความเห็นสาธารณะเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้
สำาหรับการจัดทำารายงานผลกระทบของกฎหมาย (Regulatory Impact
Analysis: RIA) หลักการและขั้นตอนในการจัดกระบวนการปรึกษาหารือ
สาธารณะขององค์กรเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจถือเป็น
แนวทางที่ประเทศส่วนใหญ่ให้การยอมรับและนำาไปประยุกต์ใช้มาก
ที่สุดแนวทางหนึ่ง ตั้งแต่บทที่ 4 ถึงบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ ตัวอย่าง
กระบวนการและรูปแบบในการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำา
กฎหมายของสหภาพยุโรป และของประเทศที่มีความน่าสนใจและเป็น
แบบอย่างให้แก่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ได้แก่ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา
01-142 PublicConsult_ok.indd 18 22/6/2562 BE 17:26