Page 17 - kpi20207
P. 17
16
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการจัดทำากฎหมายที่ผ่าน
มาในประเทศไทยในรายละเอียด พบว่า แม้จะได้มีการรับฟังความคิดเห็น
จากผู้เกี่ยวข้องหรือมีระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
ดังกล่าว แต่ในทางปฏิบัติ ทุกฝ่ายต่างตระหนักว่า การรับฟังความคิดเห็นใน
การจัดทำากฎหมายในปัจจุบันนั้น ยังมีช่องว่างและข้อขัดข้องหลายประการ
ที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ นำามาซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลภายหลังที่กฎหมายบังคับใช้แล้วโดยช่องว่างและข้อขัดข้อง
ที่เกิดขึ้นมีหลายประการ อาทิ การขาดกระบวนการวางแผน การกำาหนด
เป้าหมายและผลลัพธ์ของเรื่องหรือประเด็นที่จะนำามารับฟังความคิดเห็น
ความไม่เหมาะสมของรูปแบบหรือวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นกับ
ประเด็นหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ใช้การสัมมนากับประเด็นที่เป็นเรื่องที่
ต้องการความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะ ใช้การเผยแพร่บนเว็บไซต์
ซึ่งเข้าถึงได้เฉพาะคนเฉพาะกลุ่ม การเข้าถึงกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
เช่น การเริ่มต้นการรับฟังจากร่างกฎหมายซึ่งยากแก่ความเข้าใจ ใช้ภาษา
ที่เข้าใจยาก การกำาหนดประเด็นในการรับฟังความคิดเห็นไม่ชัดเจน ขาด
การให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ครบถ้วนเกี่ยวกับประเด็นทาง
กฎหมายที่ต้องการความคิดเห็น การขาดหลักเกณฑ์หรือการวิเคราะห์
แยกแยะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder analysis) ที่ชัดเจนและเป็น
รูปธรรมส่งผลให้การรับฟังความคิดเห็นเป็นไปอย่างไม่ครอบคลุมและไม่ตรง
กลุ่มเป้าหมาย การขาดระบบการตรวจสอบถ่วงดุลของความคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะที่ได้จากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นว่ามีการนำาไปใช้ในทาง
ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มิใช่เพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง รวมไปถึง
ไม่มีการเปิดเผยว่าผลของการรับฟังคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องได้มีการนำาไปใช้
ในชั้นการพิจารณาต่างๆ ของกระบวนการจัดทำากฎหมาย 3
3 รายละเอียดเกี่ยวกับช่องว่างและข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะได้อภิปรายเพิ่มเติม
ในบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ต่อไป
01-142 PublicConsult_ok.indd 16 22/6/2562 BE 17:26