Page 20 - kpi20207
P. 20
การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 19
จะได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดยละเอียด เพื่อเป็นหลักฐานที่แสดงถึง
ความสนใจในการนำากระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะไปใช้จัดดำาเนินการ
รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ได้รับผลกระทบ
จากการออกกฎหมายที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนี้
การถอดบทเรียนการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำากฎหมาย
ของสหภาพยุโรป อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา
ในสองบทต่อจากนั้น บทเรียนและประสบการณ์การจัดกระบวนการ
รับฟังความคิดเห็นในการจัดทำากฎหมายในประเทศไทย ทั้งในช่วงก่อนและ
หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
จะได้รับการประมวลสังเคราะห์ผ่าน (1) การทบทวนเกี่ยวกับกฎหมาย
ของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ
(2) การระบุและจำาแนกแยกแยะสภาพปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในกระบวนการ
รับฟังความคิดเห็นในอดีตของประเทศไทย (บทที่ 6) และมีการเติมเต็ม
ความเข้าใจด้วยการวิเคราะห์กรณีศึกษาการจัดกระบวนการรับฟัง
ความคิดเห็นในการจัดทำากฎหมายภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (บทที่ 7) ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เลือก
การดำาเนินการรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นการจัด
การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายที่ผู้รับผิดชอบแสดงความมุ่งมั่น
อย่างชัดเจนที่จะทำาให้กระบวนการที่จัดขึ้นไม่เพียงแต่จะสอดคล้องกับ
แนวทางที่รัฐบาลแนะนำาให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำาเนินการให้สอดคล้อง
กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 เท่านั้น แต่ยังคาดหวังให้เป็น
กระบวนการที่เป็นไปตามหลักการว่าด้วยการปรึกษาหารือสาธารณะและ
การมีส่วนร่วมของประชาชนที่สามารถเป็นแบบอย่างให้หน่วยงานอื่นๆ
นำาไปใช้เป็นแนวทางได้ด้วย
01-142 PublicConsult_ok.indd 19 22/6/2562 BE 17:26