Page 140 - kpi20756
P. 140

1 0     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  ไม่ได้ส่งผู้สมัครลงชิงชัยเลยแม้แต่เขตเดียว โดยเหตุผลนอกจากเรื่องงบประมาณที่มีไม่เพียง
                  พอแล้ว พวกเขามองว่าการเกิดขึ้นของพรรคประชาชาติที่สามารถเป็นตัวแทนของชาวมลายูมุสลิม

                  ในพื้นที่ชายแดนใต้หรือปาตานีได้แล้วนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่พรรคประชาธรรมจะส่ง
                  ผู้สมัครลงไปแข่งขันอีก (อุสมาน ดาโอะ, 2562)


                       ในช่วงเวลานับตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เกิดการรัฐประหารจำนวน 2 ครั้ง โดยครั้ง
                  ล่าสุดนั้นใช้เวลายาวนานกว่า 5 ปี กว่าจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งในครั้งใหม่ ในช่วงเวลานี้

                  นักการเมืองถูกจำกัดบทบาทไม่ให้มีกิจกรรมทางการเมืองใดๆ แต่ในช่วงเวลานี้เองสิ่งที่นักการเมือง
                  มลายูมุสลิมยังคงดำเนินต่อ คือ หน้าที่ของการเป็นตัวเชื่อมหรือตัวกลางเมื่อชาวบ้านต้องการ
                  ความช่วยเหลือ นักการเมืองยังคงเป็นตัวช่วยในการเชื่อมต่อกับหน่วยงานของรัฐในหลายๆ ครั้ง

                  นอกจากนั้นนักการเมืองบางคนก็กลับไปประกอบอาชีพตามที่ตนสามารถทำได้ เช่น ครูสอน
                  ศาสนา ทนายความ หรือ นักธุรกิจ เป็นต้น และนักการเมืองอีกหลายท่านก็หันไปสู่การทำงานใน

                  องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อชุมชน (เด่น โต๊ะมีนา, 2562)

                       แต่หนึ่งพัฒนาการในช่วงเวลานี้ที่สำคัญคือ การเกิดขึ้นของกลุ่มดะวะห์ (เชิญชวนสู่ความดี)

                  นักการเมือง ในนามกลุ่มดะวะห์ตับลิฆ ปชป. ที่เป็นพื้นที่การรวมตัวของกลุ่มนักการเมืองส่วน
                  ใหญ่จากพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งใช้โอกาสที่ว่างเว้นจากการเมืองหันเข้าสู่

                  แนวทางศาสนาเพื่อขัดเกลาตนเอง และยังเป็นโอกาสให้ยังได้อยู่กับประชาชน โดยการออกดะวะห์
                  ของคนกลุ่มนี้ก็ถูกมองว่าเป็นดะห์วะห์การเมืองมากกว่าทำไปเพราะความต้องการในด้านการ
                  ขัดเกลาทางศาสนา แต่กลุ่มนักการเมืองกลุ่มนี้มองว่า การเข้าร่วมในการดะห์วะห์ครั้งนี้พวกตน

                  จะพยายามไม่ใช้โอกาสในการหาเสียงผ่านการขึ้นพูดในโอกาสต่างๆ และปฏิบัติตามกฎที่ทาง
                  กลุ่มดะห์วะห์ได้ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด สำหรับพวกเขาแล้วนี่คือโอกาสในการขัดเกลาตนเองในด้าน

                  ศาสนา (เจะอามิง โตะยาหยง, 2562)

                       เมื่อเข้าสู่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ก็มีพัฒนาการของประเด็นที่น่าสนใจ คือการเกิดขึ้นของ

                  พรรคประชาชาติที่ได้รวมเอานักการเมืองที่เป็นสมาชิกกลุ่มวาดะห์เดิมบางส่วนซึ่งก็ถือเป็น
                  ส่วนใหญ่หากเทียบกับผู้ที่ไม่เข้าร่วม ตลอดจนรวบรวมเอานักการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งของ

                  พื้นที่ชายแดนใต้เอาไว้ด้วยกัน แม้ว่าจะมีจุดยืนที่ต้องการเป็นพรรคการเมืองระดับชาติ แต่จะเห็น
                  ว่าในการหาเสียงบริเวณพื้นที่ชายแดนใต้ พรรคประชาชาติประกาศชัดเจนว่าเป็น “พรรคของ
                  บ้านเรา” (Parti Rumah Kita) นอกจากนั้นยังเป็นพรรคการเมืองที่มีการถกเถียงว่า ใช้มิติของ

                  ศาสนา ตลอดจนมิติของอัตลักษณ์ความเป็นมลายู ในการขับเคลื่อนอย่างเห็นได้ชัด ในแง่นี้แล้ว
                  จะพบว่า ในหลายๆ สถานการณ์ “อัตลักษณ์” ไม่ว่าจะเป็นมลายู หรือ มุสลิม ท่ามกลางสังคม

        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2   พรรคของนักการเมืองมลายูมุสลิมหลายๆ คน โดยเฉพาะสายตระกูลโต๊ะมีนา ที่หันไปสู่พรรค
                  มลายูและสังคมไทยก็ตามแต่ มีความสำคัญสำหรับการเมืองในพื้นที่อย่างเห็นได้ชัด

                       ขณะเดียวกันในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ยังเห็นถึงการแตกของพรรคการเมืองกับการย้ายสังกัด


                  ภูมิใจไทยเป็นหลัก แต่บางท่านเลือกไปลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย และเขยตระกูลโต๊ะมีนาอีก

                  2 ท่าน เลือกไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทยพัฒนา ขณะเดียวกันการเลือกตั้ง
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145